Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66371
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุรชัย จงจิตงามen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจิตรศิลป์ 10, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 48-87en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/104936/141778en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66371-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractบทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาแนวคิดพุทธศาสนาในจิตรกรรมฝาผนังตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 (2) ผลที่มีต่อพุทธธรรมอันเกิดจากการปรับเปลี่ยนแนวคิดทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมในธรรมยุติกนิกาย ผลการศึกษาพบว่าพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายที่สถาปนาโดยรัชกาลที่ 4 เกิดขึ้นจากความเคลือบแคลงในความบริสุทธิ์ของสงฆ์ที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชในรัชกาลที่ 3 ระยะเริ่มต้นมีพื้นฐานมาจากวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์มอญ ต่อมาทรงให้ความสำคัญกับลังกาโดยตรงในฐานะที่เป็นต้นวงศ์อันบริสุทธิ์ของพุทธศาสนา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของพุทธศาสนาจากลังกาที่มีต่อธรรมยุติกนิกายโดยตรง การเขียนจิตรกรรมที่มีเนื้อหาจากพระวินัยและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ก็สอดคล้องกับภาพลักษณ์การปฏิบัติอันเคร่งครัดของสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ส่วนการไม่ปรากฏภาพชาดก การลดอิทธิปาฏิหาริย์ในจิตรกรรมลงก็สอดคล้องกับโลกทัศน์สมัยใหม่โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ และพบว่าคำสอนในระดับโลกียธรรมถูกเน้นย้ำมากขึ้น รวมทั้งการอธิบายแนวคิดเรื่องกรรมให้อยู่ในกรอบแนวคิดเชิงเหตุผลที่เน้นการทำกรรมในปัจจุบันเป็นหลัก การปฏิรูปพุทธศาสนาในสยามที่มีธรรมยุติกนิกายเป็นผู้นำ คือ การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพุทธศาสนาว่ามิใช่ภูมิปัญญาที่ล้าสมัยหรือไร้เหตุผล แต่พุทธศาสนายังเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าในโลกสมัยใหม่ ระบบความคิดในพุทธธรรมสามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุผลภายใต้กรอบแนวคิดของการใช้ เหตุผล และ ความรู้เชิงประจักษ์ ตามแบบอย่างโลกสมัยใหม่ และสื่อสารพุทธธรรมได้โดยไม่ต้องนำเสนอผ่านจักรวาลวิทยาตามคติไตรภูมิ แต่สามารถนำเสนอสาระหลักของพุทธธรรม คือ อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ มรรค ผล และนิพพานได้โดยผ่านจักรวาลวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทยen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectธรรมยุติกนิกายen_US
dc.subjectจิตรกรรมฝาผนัง-รัชกาลที่ 4en_US
dc.subjectพุทธศาสนา-สมัยใหม่en_US
dc.titleแนวคิดพุทธศาสนาของธรรมยุติกนิกายในจิตรกรรมฝาผนังตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวen_US
dc.title.alternativeDhammayuttika Nikaya’s Buddhist Concept in Mural Paintings Initiated by King Rama IV.en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.