Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66288
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเสาวคนธ์ เหมวงษ์en_US
dc.contributor.authorศศิธร เชื้อกุณะen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2554en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 27, 3 (ต.ค. 2554), 259-266en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00114_C00836.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66288-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractถ่านซึ่งเป็นอินทรียวัตถุชนิดหนึ่งที่เป็นแหล่งธาตุอาหาร และช่วยเก็บกักคาร์บอนไว้ในดิน การศึกษาผลของการใส่ถ่านต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพด พันธุ์ดอกคูณ 49 โดยมีกรรมวิธีจำนวน 4 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ดินอย่างเดียว (กรรมวิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 ดิน+ถ่าน กรรมวิธีที่ 3 ดิน+ปุ๋ยไนโตรเจน และกรรมวิธีที่ 4 ดิน+ถ่าน+ปุ๋ยเคมี ผลการศึกษาพบว่า กรรมวิธี ดิน+ถ่าน และดิน+ถ่าน+ปุ๋ยไนโตรเจน มีความชื้นสูงกว่ากรรมวิธีดิน+ปุ๋ยไนโตรเจน และดินอย่างเดียว ดินหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด พบว่า pH, Electrical Conditivity, อินทรียวัตถุในดิน และปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าปริมาณอินทรียวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นการศึกษาระยะสั้น (3 เดือน) การเปลี่ยนแปลงอินทรียวัตถุจากการใส่ถ่านลงไปต้องใช้เวลานาน การเจริญเติบโตของข้าวโพดเมื่ออายุ 60 วันหลังปลูก พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิตทั้งน้ำหนักแห้ง และปริมาณไนโตรเจนในต้นข้าวโพด อย่างไรก็ตาม น้ำหนักผลผลิตฝักสดข้าวโพดเมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว พบว่า มีความแตกต่างทางสถิตที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99 เปอร์เซ็นต์ โดยกรรมวิธี ดิน+ถ่าน ให้ผลผลิตฝักสดสูงสุด (383 กรัมต่อต้น) และกรรมวิธี ดิน+ปุ๋ยไนโตรเจน ให้ผลผลิตฝักสดต่ำสุด (148 กรัมต่อต้น) อย่างไรก็ตาม น้ำหนักแห้งต้น และซังข้าวโพดเมื่ออายุเก็บเกี่ยว พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยกรรมวิธี ดิน+ถ่าน ให้น้ำหนักแห้งต้นข้าวโพดสูงสุด คือ 530 กรัมต่อต้น และในกรรมวิธี ดิน+ถ่าน ให้น้ำหนักแห้งซังสูงสุด (0.21 กรัมต่อต้น) โดยกรรมวิธีดิน+ถ่าน+ปุ๋ยไนโตรเจน (160 กรัมต่อต้น) ให้ผลผลิตฝักสดต่ำกว่าการใส่ถ่านเพียงอย่างเดียว อาจเนื่องมาจาก ไนโตรเจนที่ใส่ลงไปอาจถูกถ่านดูดซับไว้ และอาจค่อย ๆ ปลดปล่อยออกมาหากทำการเพาะปลูกในปีถัดไป แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณของถ่านที่ใช้ในการทดลองนี้มีอัตราค่อนข้างสูง คือ 5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักดินแห้ง การศึกษาครั้งถัดไปควรทำการศึกษาผลกระทบในระยะยาวและลดอัตราการใส่ถ่านให้น้อยลงen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectถ่านen_US
dc.subjectข้าวโพดข้าวเหนียวหวานen_US
dc.subjectความอุดมสมบูรณ์ของดินen_US
dc.titleการใช้ถ่านปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวหวานen_US
dc.title.alternativeUsing of Charcoal to Improve Soil Fertility for Sweet Waxy Corn Productionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.