Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66287
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยเดช อัครโพธิวงศ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 6, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 74-91en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/160201/143088en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66287-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การพัฒนาอุปกรณ์เพื่อใช้หาระยะการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยพยุง (ราวจับ) และ พัฒนาอุปกรณ์ช่วยพยุง (ราวจับ) ที่ใช้วัสดุท้องถิ่น รวมถึงศึกษาระยะราวจับที่ใช้วัสดุท้องถิ่นที่แตกต่างกัน โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามาตรฐานการติดตั้งราวจับในอาคารที่ใช้กันทั่วไป อาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลเนื่องมาจากสภาพทางกายภาพที่แตกต่างกันของผู้ใช้รวมถึงวัสดุที่แตกต่าง (วัสดุท้องถิ่นและวัสดุทำราวจับมาตรฐาน เช่น สแตนเลส) อาจมีผลต่อระยะของการติดตั้งด้วยเช่นกัน โดยอุปกรณ์วัดระยะที่พัฒนาขึ้นมาสามารถใช้วัดระยะราวจับที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุหรือผู้พิการในพื้นที่จริง เพื่อหาระยะที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่อยู่อาศัยในอาคารหรือพื้นที่นั้นๆ รวมถึงอุปกรณ์ดังกล่าวยังใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์ของการใช้วัสดุที่แตกต่างกันกับระยะการติดตั้งว่ายังสัมพันธ์กับระยะมาตรฐานที่ใช้โดยทั่วไปหรือไม่ งานวิจัยนี้ได้พัฒนาอุปกรณ์วัดระยะดังกล่าวและทดลองในการติดตั้งนอกพื้นที่ พบว่า ติดตั้งได้อย่างสะดวกและผลการทดลองที่ใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างวัสดุที่แตกต่างกับระยะการติดตั้งนั้นมีผลในการเปลี่ยนวัสดุและทดสอบกับผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ โดยระยะการติดตั้งที่ พึงพอใจของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ที่อายุ 61 - 70 ปี และมีค่าเฉลี่ยการติดราวจับด้านข้างที่ระยะ 75 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่าระยะมาตรฐานที่กำหนดโดย กฎกระทรวง พ.ศ.2548 ที่กำหนดไว้ที่ 65 - 70 เซนติเมตร ข้อสรุปที่ได้จากงานวิจัยนี้พบว่า อุปกรณ์ในการช่วยหาระยะการติดตั้งมีความจำเป็นเนื่องจากผู้สูงอายุหรือผู้พิการในแต่ละพื้นที่อาจมีความพึงพอใจในระยะการติดตั้งอุปกรณ์ราวจับแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดระยะที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคลได้ อีกทั้งการเปลี่ยนชนิดของวัสดุอาจมีผลต่อระยะการติดตั้งได้ ซึ่งในพื้นที่ที่ไม่สามารถหาอุปกรณ์ที่ใช้วัสดุมาตรฐาน เช่น สแตนเลส และใช้วัสดุทดแทนจากท้องถิ่น เช่น ท่อ PVC ไม้ไผ่ หรือท่อเหล็กซึ่งหาง่ายและราคาถูก อาจต้องการอุปกรณ์ในการช่วยหาระยะติดตั้งเพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการใช้งานราวจับที่ทำจากวัสดุดังกล่าวได้อย่างมั่นใจและมีความปลอดภัยมากขึ้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectราวจับen_US
dc.subjectวัสดุทดแทนen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectวัสดุท้องถิ่นen_US
dc.subjectการออกแบบเพื่อคนทุกคนen_US
dc.titleการศึกษาอุปกรณ์เพื่อใช้หาระยะการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยพยุง (ราวจับ) และระยะการติดตั้งราวจับที่ใช้วัสดุท้องถิ่นen_US
dc.title.alternativeDeveloping devices for handrail installation and dimensions of handrail installation in local materialsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.