Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66255
Title: การดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์
Other Titles: Implementation of Multidrug Resistant BacteriaTransmission Prevention Among Regional Hospitals
Authors: มุจรินทร์ แจ่มแสงทอง
วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ
อะเคื้อ อุณหเลขกะ
Authors: มุจรินทร์ แจ่มแสงทอง
วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ
อะเคื้อ อุณหเลขกะ
Keywords: การป้องกันการติดเชื้อ;แบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน;การแพร่กระจายเชื้อ;โรงพยาบาลศูนย์
Issue Date: 2562
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 83-94
Abstract: การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเข้มแข็ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการ อุปสรรคและสิ่งสนับสนุนการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์ ประชากรที่ศึกษาคือหัวหน้าพยาบาลควบคุมการติดเชื้อจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.97 รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 โดยการส่งแบบสอบถามให้ประชากรที่ศึกษาทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 96.4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมโรงพยาบาลศูนย์มีการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานร้อยละ 82.1 ของกิจกรรมทั้งหมด กิจกรรมที่โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการได้ คือ การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อและการเก็บสิ่งส่งตรวจร้อยละ 100 รองลงมา คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมร้อยละ 95.4 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อร้อยละ 88.6 การให้ความรู้บุคลากร ผู้ป่วยและญาติร้อยละ 88 และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมร้อยละ 84.9 กิจกรรมที่โรงพยาบาลศูนย์ดำเนินการได้น้อยกว่าร้อยละ 80 คือ การกำหนดนโยบาย และแผนงานป้องกันการแพร่กระจายเชื้อร้อยละ77.4 การจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยร้อยละ 74.1 ระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาร้อยละ 72.7 และการสื่อสารข้อมูลเชื้อดื้อยา ร้อยละ 64.2 ตามลำดับ ความคิดเห็นที่มีต่ออุปสรรคในการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานที่พบในระดับมากที่สุด คือ บุคลากรในหอผู้ป่วยไม่เพียงพอ สถานที่แยกผู้ป่วยไม่เพียงพอ และและแพทย์โรคติดเชื้อไม่เพียงพอ ร้อยละ 63.0 ร้อยละ 55.6 และ 33.3 ตามลำดับ ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์ที่พบ ในระดับมากที่สุด คือ งบประมาณการรณรงค์ทำความสะอาดมือ ผู้บริหารได้กำหนดนโยบายการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน และแผนงานป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน ร้อยละ 29.6 29.6 และ25.9 ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าโรงพยาบาลศูนย์ควรหากลวิธีในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานในกิจกรรมที่ยังดำเนินการได้น้อย รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานเพื่อให้สามารถดำเนินการได้
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197121/137126
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66255
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.