Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66235
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมคิด ขำทองen_US
dc.contributor.authorปิ่นหทัย ศุภเมธาพรen_US
dc.contributor.authorยุวยงค์ จันทรวิจิตรen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2562), 126-136en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/180846/128346en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66235-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractอาการกำเริบเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉินที่มีความรุนแรงและพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วยอาการหอบรุนแรงและรับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล นอกจากจะทำให้ การดำเนินของโรคเพิ่มมากขึ้น และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง ยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ จำนวนมาก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและมารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์และโรงพยาบาลพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 304 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1 ) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค ได้ค่าเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำนายการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติค (Logistic regression)ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือ ระดับความรุนแรงของโรค (OR = 2.72, p <.001) และ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง (OR = .888, p <.001)en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอาการกเริบเฉียบพลันen_US
dc.subjectปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.subjectระดับความรุนแรงของโรคen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองen_US
dc.titleปัจจัยทำนายการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Acute Exacerbation in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.