Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66198
Title: ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็ง
Other Titles: Effectiveness of lmplementing Clinical Practice Guidelines for Palliative Care in Cancer Patients
Authors: ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์
พิกุล พรพิบูลย์
Authors: ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์
พิกุล พรพิบูลย์
Keywords: ประสิทธิผล;การดูแลแบบประคับประคอง;ผู้ป่วยโรคมะเร็ง;ความพึงพอใจ;คุณภาพชีวิต
Issue Date: 2561
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 45, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561), 69-82
Abstract: มะเร็งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิต เป้าหมายหลักของบริการสุขภาพคือการรักษา การช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยาวนานขึ้น และ บรรเทาอาการเจ็บป่วย และควรให้การดูแลแบบประคับประคองในทุกขณะของประสบการณ์กับมะเร็งของผู้ป่วย ไม่เฉพาะในวาระสุดท้ายของชีวิต การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยมะเร็ง ที่มารับบริการในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมะเร็งแห่งหนึ่งจำนวน 150 ราย แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ 74 ราย เป็นกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติ 76 ราย การศึกษานี้ใช้เวลาในรวม 8 เดือน เครื่องวิจัยสำหรับใช้รวบรวมข้อมูลสร้างโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) รายการตรวจสอบการวางแผนการดูแลล่วงหน้า 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดูแลที่ได้รับ และ 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต เครื่องมือทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .90, .97 และ .90 ตามลำดับ และทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือกับผู้ป่วยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ราย จากนั้นนำหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาร์ค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .83, .97 และ .84 ตามลำดับ กรอบแนวคิดในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ประยุกต์จากกระบวนการที่เสนอโดยสภาวิจัยด้านการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council, 1999) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละของของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองมีคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสูงกว่าในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคอง มีคะแนนความพึงพอใจต่อกิจกรรมการดูแลในระดับมากขึ้นไป สูงกว่าในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองมีคะแนนการรับรู้คุณภาพชีวิตในระดับมากขึ้นไป มากกว่าในกลุ่มกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยการใช้แนวปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.846, p <.05) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยการใช้แนวปฏิบัติมีคะแนนการรับรู้คุณภาพชีวิตไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = .074, p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันประสิทธิผลความการเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และความสำคัญของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งพยาบาลสามารถนำแนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองต่อไป
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/149341/109649
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66198
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.