Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66191
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิวพร อึ้งวัฒนาen_US
dc.contributor.authorวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์en_US
dc.contributor.authorวราภรณ์ บุญเชียงen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 124-134en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145109/107238en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66191-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractกระบวนการจัดบริการอนามัยครอบครัวนั้นทำให้ได้ข้อมูลสุขภาพในระดับครัวเรือนและบุคคล ข้อมูลด้านแนวทางการพยาบาลตามบริบทแต่ละครอบครัว ตลอดจนข้อมูลจากการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการให้บริการเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก ขาดความเป็นระเบียบ และขาดความสะดวกในการดึงข้อมูลมาใช้ การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้กระทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลงานอนามัยครอบครัวอย่างเป็นระบบ สำหรับใช้ในการลดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ รวมถึงใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะเตรียมการ เป็นระยะศึกษาความต้องการข้อมูลและองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มร่วมกับการประชุมระดมสมอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์พยาบาลจำนวน 6 คน 2.ระยะพัฒนาระบบ เป็นระยะของการดำเนินการสร้างระบบฐานข้อมูลและองค์ประกอบต่าง ๆภายในฐานข้อมูล และ 3.ระยะประเมินผล เป็นระยะประเมินความสามารถในการใช้งานระบบฐานข้อมูลงานอนามัยครอบครัวในสถานการณ์จริง โดยการใช้แบบสอบถามและแนวคำถามการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์พยาบาล จำนวน 6 คนและนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 75 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการจัดหมวดหมู่เนื้อหา ผลการวิจัย ระบบฐานข้อมูลการบริการอนามัยครอบครัวที่พัฒนาขึ้น เป็นลักษณะฐานข้อมูลออนไลน์ โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ที่ http://mis.nurse.cmu.ac.th/familydb องค์ประกอบในฐานข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไประดับครัวเรือน ข้อมูลรายบุคคลของสมาชิกในครัวเรือน พฤติกรรมสุขภาพครอบครัว แผนการเยี่ยมบ้าน ปัญหาสุขภาพระดับครอบครัวและบุคคล การพยาบาลที่ให้ และสรุปผลการให้การพยาบาล จากการประเมินความสามารถในการใช้งานฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 50 เห็นว่าระบบฐานข้อมูลนี้มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง และจากการสนทนากลุ่มได้ข้อสรุปว่าว่า ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเป็นระบบที่เอื้อให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ลดการใช้เอกสารจำนวนมาก มีความสะดวกในการเข้าถึง และง่ายต่อการใช้งาน การจัดเก็บ รวมถึงการเข้าจัดการข้อมูลในระบบ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการเพิ่มการบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพในส่วนรายละเอียดของการให้การพยาบาลเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และควรมีการรายงานผลการให้บริการแก่หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectระบบฐานข้อมูลen_US
dc.subjectอนามัยครอบครัวen_US
dc.subjectคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานอนามัยครอบครัว กลุ่มกระบวนวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeA Development of Family Health Database System of Public Health Nursing Group Faculty of Nursing Chiang Mai Universityen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.