Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66181
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจตุพงษ์ พันธ์วิไลen_US
dc.contributor.authorประทุม สร้อยวงค์en_US
dc.contributor.authorมยุลี สำราญญาติen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 14-27en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145026/107187en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66181-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือลดความรุนแรงเมื่อเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มที่ควรระวังและกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 370 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ควรระวัง 185 คน และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke risk scorecard) ของสมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 68.11 ของกลุ่มตัวอย่างที่ควรระวัง และร้อยละ 60.0 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพรายด้าน พบว่า ร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มที่ควรระวังและกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการจัดการกับความเครียด อยู่ในระดับสูง พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการรับผิดชอบต่อสุขภาพและด้านโภชนาการ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มที่ควรระวังอยู่ในระดับสูง แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งหมายถึงมีการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะด้านการรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกาย และด้านโภชนาการต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.titleพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeHealth Promoting Behaviors Among Persons at Risk of Strokeen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.