Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66180
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนัยน์ปพร จันทรธิมาen_US
dc.contributor.authorทศพร คำผลศิริen_US
dc.contributor.authorเดชา ทำดีen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 51-63en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145065/107210en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66180-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ทำให้มีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวัน และส่งผลให้เป็นภาระต่อผู้ดูแล ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความพร้อมในการดูแล ดังนั้นการเตรียมพร้อมของผู้ดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การดูแลมีประสิทธิภาพซึ่งการโค้ชเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยในการเตรียมผู้ดูแล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม วัดก่อน-หลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเตรียมพร้อมและภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการโค้ชและกลุ่มที่ไม่ได้รับการโค้ช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด 52 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการโค้ชจากผู้วิจัยเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากทีมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1)โปรแกรมการโค้ชสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2) คู่มือประกอบการให้ความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3) สมุดบันทึกสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และ 4) วีดีทัศน์การฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล 2) แบบสัมภาษณ์ความพร้อมในการดูแล และ 3) แบบสัมภาษณ์ภาระของผู้ดูแล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมพร้อมและภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับปานกลาง การเตรียมพร้อมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มที่ได้รับการโค้ชสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการโค้ช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มที่ได้รับการโค้ชน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการโค้ช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การเตรียมพร้อมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการโค้ชสูงกว่าก่อนได้รับการโค้ช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการโค้ชน้อยกว่าก่อนได้รับการโค้ช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการโค้ชen_US
dc.subjectการเตรียมพร้อมen_US
dc.subjectภาระen_US
dc.subjectผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการโค้ชต่อการเตรียมพร้อมและภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeEffects of Coaching Program on Preparedness and Burden Among Caregivers of Older Persons with Strokeen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.