Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65932
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเบญจวรรณ พลประเสริฐen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T08:45:31Z-
dc.date.available2019-08-21T08:45:31Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationมนุษยศาสตร์สาร 19, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 11-32en_US
dc.identifier.issn2630-0370en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/131339/98546en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65932-
dc.descriptionมนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคมมนุษยศาสตร์สาร นำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการจัดทำทั้งรูปแบบตีพิมพ์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 เช่นกันen_US
dc.description.abstractประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน ปรากฏรูปแบบการสรงน้ำด้วยหลักฐานภาพถ่ายในปี พ.ศ.2469 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนดินแดนภาคเหนือและได้สักการะองค์พระธาตุหริภุญไชยด้วยวิธีสรงน้ำ ทำให้เกิดรูปแบบ พิธีการ ลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนมากขึ้นในประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชย อันเป็นไปตามบริบททางการเมืองการปกครองที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กลุ่มคนลำพูนเดิมและกลุ่มชั้นชนปกครองที่เข้ามาอยู่ใหม่ ได้สร้างสถานะ พื้นที่ตนด้วยการสร้างรูปแบบกิจกรรมใหม่ๆ ตามมา จนมีรูปแบบกิจกรรมภายในงานที่หลากหลายขึ้น บทความชิ้นนี้จึงต้องการย้อนกลับไปศึกษารูปแบบงานและวิถีชุมชนเดิมที่ต่างเข้ามามีส่วนร่วมทั้งด้วยบทบาทหน้าที่ ทั้งด้วยศรัทธา นำเสนอตัวตนของคนท้องถิ่น ตลอดจนการเปลี่ยนสถานะบทบาทหน้าที่ เพื่อสร้างพื้นที่บทบาทแก่ตนในงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชย ผลการศึกษาเห็นว่า การเข้าร่วมงานประเพณีของกลุ่มคนเห็นถึงความผูกพันระหว่างคนกับศาสนา ความสัมพันธ์ของชุมชนเดียวกัน โดยผ่านกิจกรรมในงานประเพณีโดยไม่ได้นำความเป็นชาติพันธุ์ตนมาเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มตน พื้นที่ทางสังคมมีปฏิสัมพันธ์กันในระบบอุปถัมภ์ เครือญาติ ตามบริบทโครงสร้างสังคมในยุคนั้นที่เจ้าผู้ครองนครยังคงมีอำนาจ สิทธิ ทุกอย่าง จากการศึกษารูปแบบและวิถีกลุ่มผู้เข้าร่วมงานก่อนปี พ.ศ.2500 ทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงผลของการเกิดขนบนิยม ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ๆ ตามมาอันทำให้ระบบอุปถัมภ์ และบทบาทชนชั้นปกครองในอดีตค่อยๆ ลดถอยไป จนเกิดการสร้างบทบาทหน้าที่ใหม่ของกลุ่มคนในปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่แทนen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพื้นที่ทางสังคมen_US
dc.subjectกลุ่มคนในลำพูนen_US
dc.subjectงานประเพณีสรงน้ำen_US
dc.subjectพระธาตุหริภุญไชยen_US
dc.titleพื้นที่กลุ่มคนในงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชยก่อนปี พ.ศ. 2500en_US
dc.title.alternativeThe space of people in Phrathat (Stupa) Hariphunchai Water Blessing Ceremony before 1957 A.D.en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.