Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65107
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:41Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:41Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77246/61997en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65107-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractจิตรกรรมทังกาในความหมายของชาวทิเบต เป็นสาสน์แห่งบันทึกไปสู่ผู้ฝึกจิตปฏิบัติตน ช่วยนำพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปถึงจิตสมาธิของผู้ปฏิบัติให้บรรลุธรรม เป็นดั่งสะพานเชื่อมจิตใจของผู้มองไปสู่พระพุทธเจ้าและมณฑลแห่งพระพุทธศาสนา ผ่านทางรูปลักษณ์ของภาพจิตรกรรมที่มิใช่การมองเพียงดวงตาจากกายเนื้อ แต่เป็นการมองภาพทังกาด้วยดวงจิตอันกระจ่าง “ทังกา” จึงเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของทิเบตที่มีประวัติศาสตร์และตำนานเล่าขานมาอย่างยาวนานนับพันปี ประวัติศาสตร์ของทังกาสามารถแบ่งการพัฒนารูปแบบทางศิลปะภาพทังกาเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะแรกเริ่มประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงแรกรับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากเนปาลและจีน 2. ระยะที่สองเริ่มประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งเป็นช่วงศาสนจักรในทิเบตเฟื่องฟู เป็นสมัยที่มีการสร้างวัดวาอารามอย่างแพร่หลาย ภายใต้การอุปถัมภ์ของนิกายต่างๆ ในทิเบต ต่อมา ได้มีการศึกษาเพื่อจำแนกรูปแบบภาพทังกา โดยแบ่งตามสกุลจิตรกรรมของช่างวาดและประเพณีนิยม รวม 6 แบบ ได้แก่ 1. สกุลจิตรกรรมกาดัมภายใต้การอุปถัมภ์ของอาณาจักรกูเก รับอิทธิพลรูปแบบศิลปะแบบคุปตะและศิลปะแบบปาละ 2. สกุลจิตรกรรมปัลรี หรือ สกุลจิตรกรรมเนปาล สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลแบบแผนจิตรกรรมประเพณีนิยมเนปาล 3. สกุลจิตรกรรมเมนรีภายใต้ความอุปถัมภ์ของนิกายเกลุกปะ โดยประยุกต์รูปแบบจากศิลปะจีนและมองโกล 4. สกุลจิตรกรรมเคียนรี ภายใต้ความอุปถัมภ์ของนิกายสาเกียปะและเกลุกปะ มีเอกลักษณ์แบบเฉพาะตัวและสีสันสวยงามเป็นพิเศษ 5. สกุลจิตรกรรมการ์มา กาดรี ภายใต้ความอุปถัมภ์ของนิกายกาจูร์ปะและญิงมาปะ แพร่หลายแถบทิเบตตะวันออกทางแคว้นคาม และ 6. สกุลจิตรกรรมโดปัล ภายใต้ความอุปถัมภ์ของนิกายเกลุกปะ แพร่หลายความนิยมตั้งแต่สมัยขององค์ดาไลลามะที่ 5 เป็นต้นมา โดยรูปแบบสกุลจิตรกรรมทั้ง 6 แบบสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และพัฒนาการของจิตรกรรมทังกา และยังเป็นแนวทางในการเรียนรู้เพื่อศึกษาถึงคติและความหมายที่แฝงเร้นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประวัติศาสตร์ทังกาen_US
dc.title.alternativeHistory of Thangkaen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume6en_US
article.stream.affiliationsรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กรุงเทพมหานครen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.