Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65105
Title: รูปแบบและลักษณะทางดนตรี ในการแสดงดาระจังหวัดสตูล
Other Titles: Musical Forms and Characteristics of Darah Performance in Satun Province
Authors: สุรสิทธิ์ ศรีสมุทร
Authors: สุรสิทธิ์ ศรีสมุทร
Issue Date: 2558
Publisher: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: งานวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรม ดนตรีของการแสดงดาระ จังหวัดสตูล 2) วิเคราะห์รูปแบบและลักษณะทาง ดนตรีในการแสดงดาระจังหวัดสตูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมา สันนิษฐานว่า ดาระมาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ผ่านมายังประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เข้าสู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่จังหวัดสตูลเมื่อกว่า 300 ปีมาแล้ว ท่ารำนำมาจากท่าของกวาง บทเพลง นำมาใช้ 5 เพลง ผู้ถ่ายทอดมี 3 รุ่น 2) มีบทบาทต่อชุมชนในด้านสร้างความบันเทิง การสร้างสุขภาพในชุมชน เป็น สื่อพื้นบ้าน การถ่ายทอดวัฒนธรรมและการถ่ายทอดองค์ความรู้ 3) มีวิธีการฝึกหัดและถ่ายทอดการแสดงทั้งด้วยตัวศิลปินเอง วิธีพี่สอนน้อง การเปิดค่ายอบรม และด้วยการทำเป็นสื่อวีซีดี 4) การแสดงประกอบด้วยนักดนตรี เครื่องดนตรี ผู้ขับร้อง บทเพลง นักแสดง ชุดแต่งกาย 5) ขั้นตอนการแสดง เรียงลำดับจากเพลงตะเบงะเจ๊ะ เพลงอมจารีกำ เพลง ดียาโดนียา เพลงซีฟาดดารีกันตงและเพลงฮอดามี การตีรำมะนาด้วยเสียง 3 เสียง ท่ารำไม่มีชื่อเรียก โครงสร้างเพลงส่วนมากมี 5 ท่อน ประโยคเพลงมี 2 ประโยคเป็นประโยค คำถามและประโยคคำตอบ บันไดเสียงใช้แบบ Hexatonicscale, Pentatonic scales และ Diatonic Scale หลักเสียงและโหมดเสียงใช้ Aeolian มากสุด Mixolydian และ Ionian รองลงมา โครงสร้างทำนองส่วนมากมี 3 ท่อน มี ทำนองเดียว วรรคเพลงและวลีของทำนองมี 2 – 6 วลีทำนอง ใช้กระสวนจังหวะ 4 – 7 กระสวน ใช้กระสวนทำนอง 2 – 6 กระสวน มีการพัฒนาแนวทำนอง จากทำนองหลักออกไป 3 – 9 ทำนอง กลุ่มเสียงทำนองร้องแบ่งวลีละ 1 – 2 กลุ่มเสียงพิสัยของทำนองร้องอยู่ระหว่างคู่ 6 minor ถึงคู่ 9 major การดำเนิน ทำนองเป็นลำดับขั้นและกระโดดคู่ 3 ความสัมพันธ์ของคำร้องกับทำนองส่วน มากเป็นแบบ Syllabic และ Neumatic
Description: วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77250/62000
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65105
ISSN: 1906-0572
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.