Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64567
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจักรพงษ์ กางโสภาen_US
dc.contributor.authorRussell K. Hynesen_US
dc.contributor.authorบุญมี ศิริen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00140_C01105.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64567-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการประยุกต์วิธีการทำ seed treatment ร่วมกับจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เมล็ดพันธุ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการทำ seed treatment ด้วยจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม และติดตามการงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้า และการเพาะปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน โดยทดลองที่ Agriculture and Agri-Food Canada (AAFC) ประเทศแคนาดา แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 คัดเลือกจุลินทรีย์ 2 ชนิด คือ Pseudomonas fluoresces 31-12 และ Bacillus subtilis ซึ่งแต่ละชนิดนำมาทำ seed treatment ประกอบด้วยวิธีการ แช่เมล็ดพันธุ์ เคลือบเมล็ดพันธุ์ และพอกเมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำมาตรวจสอบความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้า จากผลการตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการพบว่า ความงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่การเคลือบและการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ P. fluorescens 31-12 มีความยาวต้นดีที่สุด คือ 41.16 และ 41.23 มิลลิเมตร ตามลำดับ และการพอกเมล็ดร่วมกับ B. subtilis มีความยาวรากดีที่สุด คือ 124.26 มิลลิเมตร ส่วนการตรวจสอบในสภาพเรือนทดลองพบว่า การเคลือบและการพอกเมล็ดด้วย P. fluorescens 31-12 มีความยาวต้นดีที่สุด (60.10 และ 57.85 มิลลิเมตร ตามลำดับ) และมีน้ำหนักสดลำต้นดีที่สุด (747.72 และ 743.06 มิลลิกรัม ตามลำดับ) ส่วนการพอกเมล็ดด้วย P. fluorescens 31-12 มีน้ำหนักแห้งลำต้นดีที่สุด คือ 28.83 มิลลิกรัม และแตกต่างกันในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการทำ seed treatment ส่วนการทดลองที่ 2 คัดเลือกวิธีการเคลือบและพอกเมล็ดร่วมกับ P. fluorescens 31-12 มาเพาะปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน พบว่าการเคลือบและการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย P. fluorescens 31-12 มีน้ำหนักสดใบ น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งใบ และน้ำหนักแห้งรากมากกว่าและแตกต่างกันในทางสถิติอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดควบคุมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของการทำ Seed Treatment ร่วมกับแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชต่อความงอกและการเติบโตของผักกาดหอมen_US
dc.title.alternativeEffects of Seed Treatment with Plant Growth Promoting Bacteria on Germination and Growth of Lettuceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลยัขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002en_US
article.stream.affiliationsAgriculture and Agri-Food Canada, 107 Science Place, Saskatoon, SK, Canadaen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.