Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64534
Title: การเปรียบเทียบสมรรถภาพการขุน คุณภาพซาก และเนื้อของโคลูกผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับชาร์โรเลส์ แบล็คแองกัส และบราห์มัน
Other Titles: Comparison of Fattening Performance, Carcass and Meat Quality of Charolais, Black Angus, and Brahman Crossbred with Thai Native Cattle
Authors: ธนาพร บุญมี
นิราภรณ์ ชัยวัง
ณัฐพันธ์ กันธิยะ
สัญชัย จตุรสิทธา
Authors: ธนาพร บุญมี
นิราภรณ์ ชัยวัง
ณัฐพันธ์ กันธิยะ
สัญชัย จตุรสิทธา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการขุน คุณภาพซาก และเนื้อของโคลูกผสมพื้นเมืองชาร์โรเล่ส์ แบล็คแองกัส และบราห์มัน เพื่อเป็นแนวทางในการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการขุนสำหรับการเลี้ยงในประเทศไทย และเป็นทางเลือกในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ การทดลองนี้ใช้โคเพศผู้ตอนลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส และโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน ขุนเป็นเวลา 8-10 เดือน แบ่งเป็นกลุ่มการทดลองละ 8 ตัว อายุเริ่มต้นเข้าขุนเฉลี่ย 2 ปี 6 เดือน-2 ปี 8 ตามลำดับ โดยให้อาหารข้น หญ้า และนํ้าอย่างเต็มที่ (ad libitum) ทำการวัดสมรรถภาพการขุน และเมื่อนํ้าหนักเฉลี่ย 550-700 กิโลกรัมนำมาฆ่าและตัดแต่งซากเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพเนื้อและซากระหว่างพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาที่ใช้ขุนของโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน และโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ มากกว่าโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส (P<0.001) สำหรับนํ้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้นพบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์มีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ รองลงมาคือโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส และโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน นอกจากนี้อัตราการเจริญเติบโตต่อตัวต่อวันพบว่า โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส มีค่ามากที่สุด รองลงมาคือโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ (P>0.05) และ โคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน (P<0.001) สำหรับคุณภาพซากของโคลูกผสมทั้ง 3 พันธุ์พบว่า นํ้าหนักมีชีวิต นํ้าหนักซากอุ่น นํ้าหนักซากเย็น และเปอร์เซ็นต์ซากของโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มันมีค่าน้อยที่สุด (P<0.001) สำหรับคุณภาพเนื้อด้านเปอร์เซ็นต์ไขมัน และการประเมินทางด้านการตรวจชิม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส กับโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ จากการศึกษาความสามารถในการอุ้มนํ้าของเนื้อพบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส มีค่าการสูญเสียจากการเก็บรักษามากที่สุด (P=0.036) ส่วนทางด้านของค่าแรงตัดผ่านเนื้อ พบว่า โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส มีค่าน้อยที่สุด (P<0.001) รองลงมาคือ โคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ และโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน ตามลำดับ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าโคลูกผสมสายเลือดยุโรปไม่มีความแตกต่างในส่วนของเปอร์เซ็นต์ไขมันแทรกและด้านการตรวจชิม แต่โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัสจะมีสมรรถภาพด้านการเจริญเติบโตและมีความนุ่มของเนื้อสูงที่สุด สำหรับโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์จะมีประสิทธิภาพด้านคุณภาพซากมากที่สุด
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00137_C01066.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64534
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.