Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอาทิตย์ ปัญญาศักดิ์en_US
dc.contributor.authorสมเกียรติ ประสานพานิชen_US
dc.contributor.authorศรเทพ ธัมวาสรen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00137_C01065.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64529-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการทดลองนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของการให้อาหารหมักจากวัสดุเศษเหลือ (ensiled crop residue, ECR) แบบจำกัดต่อประสิทธิภาพการผลิต และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในโคนมสาวทดแทน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้โคนมสาวทดแทนพันธุ์ลูกผสมโฮสไตน์ฟรีเชี่ยน 87.50-93.25% เพศเมีย จำนวน 63 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 7 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 288.95  10.54 กิโลกรัม และน้ำหนักสิ้นสุดเฉลี่ย 320.39  3.11 กิโลกรัม ใช้เวลาตลอดการทดลอง 90 วัน โดยโคกลุ่มที่ 1 (ควบคุม) ได้รับเศษข้าวโพดหมัก ฟางข้าว และอาหารข้น (10, 3 และ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน) กลุ่มที่ 2 ได้รับ ECR ฟางข้าว และอาหารข้น (8, 2 และ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน) กลุ่มที่ 3 ได้รับ ECR และอาหารข้น (14 และ 2 กิโลกรัม/ตัว/วัน) ให้โคทั้งสามกลุ่มได้รับอาหารแบบจำกัดตามเงื่อนไขที่สหกรณ์กำหนด โคทุกตัวได้รับอาหารข้นที่มีระดับโปรตีน 14 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาประสิทธิภาพการผลิต พบว่าการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย ทั้งสามกลุ่มไม่ต่างกัน การเปลี่ยนแปลงคะแนนความสมบูรณ์ร่างกายของกลุ่มที่ 3 เท่ากับ 0.64  0.03 มากกว่ากลุ่มที่ 1 และ 2 (P<0.01) ปริมาณวัตถุแห้งที่ได้รับทั้งหมดและปริมาณโปรตีนที่ได้รับ ในแต่ละกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) จากการศึกษาการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ ในทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่ 3 มีพลังงานย่อยได้ พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ และโภชนะที่ย่อยได้ทั้งหมด สูงกว่าทั้งสองกลุ่ม (P>0.05) จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเลือด พบว่ากลูโคสในเลือด ยูเรียไนโตรเจนในเลือด และฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีน มีค่าอยู่ในช่วงปกติ (P>0.05) จากการศึกษาต้นทุนทางเศรษฐกิจ พบว่าต้นทุนการผลิตทั้งหมดต่อตัวของทั้ง 3 กลุ่ม เท่ากับ 17,277.14  59.20, 17,512.55  59.49 และ 18,109.66  58.89 บาท/ตัว (P<0.01) และต้นทุนการผลิตทั้งหมดต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวในกลุ่มที่ 3 มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ 2en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการให้อาหารหมักจากวัสดุเศษเหลือแบบจำกัดต่อประสิทธิภาพการผลิต และต้นทุนทางเศรษฐกิจในโคนมสาวทดแทนen_US
dc.title.alternativeRestricted Feeding of Ensiled Crop Residue on Production and Economic Cost in Dairy Replacement Heiferen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาสัตวบาล คณะเกษตร กาแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน จ.นครปฐม 73140en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.