Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64524
Title: การพัฒนามาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร
Other Titles: Development of Eyes Mask Containing Dragon Fruit Peel Extract
Authors: พิชชาภา โอจงเพียร
พาณี ปิมปา
เพ็ญศักดิ์ จันทราวุธ
Authors: พิชชาภา โอจงเพียร
พาณี ปิมปา
เพ็ญศักดิ์ จันทราวุธ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับมาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการบริโภคและแปรรูป โดยทำการสกัดเปลือกแก้วมังกรด้วยน้ำ เอทานอล และเอทานอลต่อน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 โดยวิธีแช่หมัก (maceration) แล้วนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดเปลือกแก้วมังกรที่สกัดด้วยเอทานอลต่อน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ให้ฤทธิ์สูงสุดในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH radical scavenging มีค่า IC50 เท่ากับ 4.21 ± 0.17 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จึงเลือกสารสกัดนี้มาใช้ในขั้นตอนเตรียมตำรับมาสก์ใต้ตาต่อไป ตำรับมาสก์ใต้ตาที่ประกอบด้วยเจลาติน (6.5 กรัม) กลีเซอรีน (17.16 กรัม) เพกติน (1.28 กรัม) และกลูตาราลดีไฮด์รีเอเจนท์ (0.15 กรัม) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการหล่อแบบเดิม (conventional solution casting method) และจากการศึกษาสมบัติทางกายภาพพบว่า ตำรับมาสก์ใต้ตาตามสูตรนี้ให้ค่าความนุ่ม (291.50 ± 4.95 กรัม) ความหนา (0.16 ± 0.02 เซนติเมตร) และพฤติกรรมการพองตัวใกล้เคียงกับมาสก์ใต้ตาที่มีขายในท้องตลาดที่นำมาเปรียบเทียบ จึงเลือกตารับมาสก์ใต้ตานี้มาใส่สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรที่คัดเลือกไว้ เพื่อทดสอบการแพ้และความชุ่มชื้นต่อผิวหนังของอาสาสมัคร ซึ่งใช้อาสาสมัครคนไทยจำนวน 30 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-50 ปี โดยให้แปะแผ่นมาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรที่บริเวณท้องแขนเป็นเวลา 10 นาที แล้ววัดค่าความแดงของผิวหนังด้วยเครื่อง Mexameter® ก่อนและหลังใช้ 30 นาที และวัดค่าความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยเครื่อง Corneometer® ก่อนและหลังใช้ที่เวลา 10, 15 และ 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า มาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับผิวหนังบริเวณที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ดังนั้น มาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรที่พัฒนาได้ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะสามารถนำไปประยุกต์เพื่อใช้สำหรับผิวหนังต่อไป เนื่องจากมีศักยภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00137_C01063.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64524
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.