Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิทวัส สมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัยen_US
dc.contributor.authorต่อนภา ผุสดีen_US
dc.contributor.authorศันสนีย์ จำจดen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00137_C01054.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64519-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงเป็นแหล่งสะสมของแอนโทไซยานินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคสำคัญหลายชนิด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการกระจายตัวทางพันธุกรรมของปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าว และสภาพแวดล้อมต่อการแสดงออกของปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าว โดยสร้างลูกผสมระหว่างข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองจากที่สูง (ปิอิซู) กับข้าวขาวพันธุ์ปรับปรุง (ปทุมธานี 1) ปลูกทดสอบลูกผสมชั่วที่ 2 จำนวน 265 ต้น ใน 2 พื้นที่ คือ ที่ลุ่มและที่สูง เก็บบันทึกข้อมูลสีเยื่อหุ้มเมล็ด ปริมาณแอนโทไซยานินและผลผลิต ผลการศึกษาพบว่าลูกผสมชั่วที่ 2 มีการกระจายตัวของสีเยื่อหุ้มเมล็ดในสัดส่วน 9 สีม่วง : 3 สีน้ำตาล : 4 สีขาว แสดงว่าถูกควบคุมด้วย 2 ยีน คัดเลือกเมล็ดจากต้นที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง 100 ต้น จากจำนวนทั้งหมด 156 ต้น นำไปวิเคราะห์หาปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าวและเปรียบเทียบระหว่าง 2 พื้นที่ปลูก พบว่าประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 มีการกระจายตัวของปริมาณแอนโทไซยานินเป็นแบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ระหว่าง 0.2 ถึง 370.3 mg/100 g ซึ่งส่วนใหญ่กระจายตัวไปในทิศทางของพันธุ์พ่อที่มีค่าต่ำ นอกจากนั้นพบว่าปริมาณแอนโทไซยานินตอบสนองต่อแหล่งปลูกแตกต่างกัน โดยการปลูกในที่สูงให้ปริมาณแอนโทไซยานินสูงเป็นสองเท่าของข้าวที่ปลูกในที่ลุ่ม การปลูกบนที่สูงมีปริมาณแอนโทไซยานินเฉลี่ย 58.9 mg/100 g และการที่ปลูกในที่ลุ่มมีค่าเฉลี่ย 24.9 mg/100 g แสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ด โดยมีความสัมพันธ์ในทางบวกมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองแหล่งเท่ากับ 0.788** และพบว่าปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงไม่ได้เกิดจากการมีผลผลิตต่อต้นต่ำ ผลจากการทดลองครั้งนี้จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวก่ำให้มีแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงในชั่วต่อไป อย่างไรก็ตามการเพิ่มปริมาณประชากรในการศึกษาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะเพิ่มโอกาสในการกระจายตัวของต้นที่มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงได้มากขึ้น และควรมีการทดสอบในพื้นที่สภาพแวดล้อมเป้าหมายในการคัดเลือกและส่งเสริมด้วยเนื่องจากแหล่งปลูกมีอิทธิพลต่อการสะสมแอนโทไซยานินเป็นอย่างมากen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการกระจายตัวทางพันธุกรรมของปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าวลูกผสมชั่วที่ 2 ระหว่างข้าวเหนียวดำจากที่สูงและข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ปลูกที่ลุ่มและที่สูงen_US
dc.title.alternativeGene Segregation for Anthocyanin Contents in F2 Population Between Purple Glutinous Rice from Highland and Pathum Thani 1 Grown at Lowland and Highland Locationsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.