Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64468
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิกาญดา สายวงค์ใจen_US
dc.contributor.authorธนียา เจติยานุกรกุลen_US
dc.contributor.authorธนะชัย พันธ์เกษมสุขen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00134_C01012.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64468-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและยอดจากชิ้นส่วนเอนโดสเปิร์มของเมล็ดอ่อนสบู่ดำ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 5 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 อาหารสูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต กรรมวิธีที่ 2 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และ GA3 ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร กรรมวิธีที่ 3 อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ GA3 ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร กรรมวิธีที่ 4 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ กรรมวิธีที่ 5 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ GA3 ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งหมดมี 20 ชิ้นส่วนในแต่ละกรรมวิธี เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25 ±2 องศาเซลเซียส ในสภาพมืดตลอดเวลา พบว่า ในกรรมวิธีที่ 4 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้สูงสุดคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ หลังจากเพาะเลี้ยงได้ 3 สัปดาห์ และแคลลัสมีลักษณะเกาะกันแบบหลวม ๆ (friable callus) มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 2 เซนติเมตร จัดอยู่ในระดับปานกลาง จากนั้นนำมาเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25 ±2 องศาเซลเซียส ในสภาพให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า สามารถเจริญเป็นยอดอ่อนได้ ในระยะเวลา 18 สัปดาห์ หลังจากย้ายเนื้อเยื่อแคลลัสen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการชักนำให้เกิดแคลลัสและยอดจากเอนโดสเปิร์มของเมล็ดอ่อนสบู่ดำen_US
dc.title.alternativeCallus and Shoot Induction from Endosperm of Immature Physic Nut Seeden_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume32en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สานักงานการอุดมศึกษา, กรุงเทพฯ 10400en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.