Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64448
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภัทราพรรณ พรหมแก้วen_US
dc.contributor.authorสายสมร ลายองen_US
dc.contributor.authorบุญสม บุษบรรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:08Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:08Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00133_C01008.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64448-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองราเอนโดไฟต์ที่แยกได้จากพืชกาฝาก 3 ชนิด (Dendrophthoe pentandra, Dendrophthoe sp. และ Loranthus parasiticus) และพืชอาศัย 3 ชนิด คือมะปราง (Bouea macrophylla) ละมุด (Manilkara zapota) และหม่อน (Morus alba) ในการผลิตสารต้านจุลินทรีย์โดยเพาะเลี้ยงราเอนโดไฟต์จานวน 47 ไอโซเลท ในอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ potato dextrose broth PDB, glucose soybean meal broth GSB, malt extract broth MEB, yeast extract sucrose broth YES และ Sabouraud broth SBB บ่มเชื้อบนเครื่องเขย่าแบบซ้าย-ขวา ที่อุณหภูมิห้อง (27-30 °C) 14 วัน จากนั้นกรองแยกส่วนของน้าเลี้ยงเชื้อมาสกัดด้วย ethyl acetate และเตรียมสารสกัดหยาบโดยละลายใน 10% DMSO จากนั้นทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและราสาเหตุโรคพืช 7 ชนิด ได้แก่ Ralstonia solanacearum TNCC003291, Xanthomonas citri BS356, Botrytis sp. BS298, Colletotrichum sp. BS351, Fusarium sp. BS288, Phytophthora botryosa BS349 และ Pyricularia oryzae BS265 ด้วยวิธี agar well diffusion ใช้ dimethylsulfoxide (10%), streptomycin (1 mg/ml) และ benomyl (20 mg/ml) เป็นสารควบคุม พบว่าราเอนโดไฟต์ที่เลี้ยงในอาหาร F1 ยับยั้งการเจริญได้ทั้งแบคทีเรียและราก่อโรคพืช สาหรับราเอนโดไฟต์ที่เลี้ยงในอาหาร GSB, MEB, YES และ SBB ยับยั้งได้เฉพาะแบคทีเรียก่อโรคพืชเท่านั้น และพบว่าสารสกัดหยาบของน้าเลี้ยงของราเอนโดไฟต์ Lasiodiplodia pseudotheobromae MoS5 ที่เลี้ยงใน GSB สามารถยับยั้ง R. solanacearum TNCC003291 ได้ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใส 12 mm) ส่วนราเอนโดไฟต์ไอโซเลทเดียวกันนี้ที่เลี้ยงใน YES สามารถยับยั้ง X. citri BS356 ได้ดีที่สุด (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใส 22 mm) โดยมีค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืช (MIC) เท่ากับ 2.5 mg/ml และ 5 mg/ml ตามลาดับ และสารสกัดหยาบของ Colletotrichum sp. MoPIV2 และ Phomopsis sp. MoS3/1 ที่เลี้ยงในอาหาร PDB ยับยั้ง Fusarium sp. BS288 ได้โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใส 18 และ 15 mm ตามลาดับ โดยสารสกัดหยาบทั้งสองมีค่า MIC เท่ากับ 1.25 mg/ml ซึ่งต่ากว่า MIC ของสารฆ่ารา benomyl (10 mg/ml) ถึง 8 เท่า ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าราเอนโดไฟต์จากพืชกาฝาก และพืชอาศัยเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ชีวภาพที่มีศักยภาพซึ่งอาจนาไปใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการประเมินฤทธิ์สารต้านจุลินทรีย์ก่อโรคพืชของราเอนโดไฟต์ที่แยกจากกาฝากและพืชอาศัยของกาฝากen_US
dc.title.alternativeEvaluation of Antiphytopathogenic Activity of Endophytic Fungi Isolated from Parasitic Plants and their Hostsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume32en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.