Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64412
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
Other Titles: Factors Affecting of Successful Implementation of the Royal Project Development Centers
Authors: นภาพร ทางทิศ
วรทัศน์ อินทรัคคัมพร
Authors: นภาพร ทางทิศ
วรทัศน์ อินทรัคคัมพร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงได้พัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยใช้แนวทางเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการสร้างรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนบนพื้นที่สูง โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานในการส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง (2) ศึกษาความรู้ที่เกษตรกรมีความเข้าใจหลังจากได้รับการส่งเสริมจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวง (3) ศึกษาผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่อเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และ (4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง 38 ศูนย์ มีจำนวน 150,019 คน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะคล้ายกัน ผู้วิจัยจึงกำหนดการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง 38 ศูนย์ ศูนย์ละ 2 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (accidental selection) รวมเป็น 76 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของโครงการหลวง ตามระดับความคิดเห็นของเกษตรกรแต่ละประเด็น ตามมาตราวัด 5 ระดับ ของ Likert scale และแปรความหมายระดับความคิดเห็น โดยใช้วิธีนำค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weight Mean Score) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานในการส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 3 ด้าน ได้แก่ (1) จำนวนครั้งที่ได้รับการส่งเสริม (2) การสนับสนุน/อำนวยความสะดวก และ (3) ด้านคุณภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง พบว่า ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน คะแนนอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงมีค่าคะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการดำเนินงานในการส่งเสริม และด้านการสนับสนุน/อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร อยู่ในระดับมาก ในส่วนของความรู้ที่เกษตรกรมีความเข้าใจหลังจากได้รับการส่งเสริมจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ด้านอาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความรู้ “ด้านสิ่งแวดล้อม” อยู่ในระดับมากที่สุด “ด้านสังคม” อยู่ในระดับมาก ส่วนใน “ด้านอาชีพ” อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นความรู้เทคนิคเฉพาะด้าน เช่น ไม้ดอก ชา กาแฟ หัตถกรรม ในส่วนของผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่อเกษตรกรด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงถึงความสำเร็จของการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงที่สามารถพัฒนาทั้งสามด้านควบคู่กันไป ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ จำนวนเกษตรกรในครัวเรือน ปริมาณการได้รับการส่งเสริม และคุณภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=127&CID=942
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64412
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.