Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64303
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนริศรา เลิศพรสวรรค์en_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97852/76233en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64303-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractบริบทการทำงานในการจัดการขยะ ทำให้พนักงานเก็บขยะมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 260 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปัจจัยด้าน การยศาสตร์ คือ การเกร็งข้อมือในการยกถุงขยะ/ถังขยะ (ร้อยละ 86.92) การก้มลำตัว (ร้อยละ 86.54) การบิดเอี้ยวลำตัว (ร้อยละ 85.00) และท่าทางซ้ำๆ (ร้อยละ 80.00) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมี คือ กลิ่นเหม็นขยะ (ร้อยละ 85.38) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านกายภาพ คือ แสงแดด (ร้อยละ 71.92) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านชีวภาพ คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา (ร้อยละ 66.54) ส่วนสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย คือ การทำงานบริเวณที่ชื้นเปียก (ร้อยละ 78.08) และการทำงานกับของมีคม (ร้อยละ 60.00) สำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง พบว่าความเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ ปวดเอว (ร้อยละ 68.08) ไม่สุขสบายจากกลิ่นขยะ (ร้อยละ 62.31) ไข้ น้ำมูกไหล ไอ จาม (ร้อยละ 60.77) ระคายเคืองตา แสบตา คันตา (ร้อยละ 48.85) ส่วนการบาดเจ็บจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบร้อยละ 41.54 สาเหตุจากของมีคมบาด/ทิ่มแทง (ร้อยละ 61.64) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัย และทีมที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและตระหนักการเฝ้าระวังทางสุขภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนารูปแบบการจัดการและป้องกันปัญหาระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ร่วมกับการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเก็บขยะen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะen_US
dc.title.alternativeOccupational Health Hazards and Health Status Related to Risk Among Waste Collectorsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.