Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64301
Title: ผลของการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันต่อการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
Other Titles: Effects of Protection Motivation on Practices for Infection Prevention and Incidence of Infection Among End-stage Renal Disease Patients Receiving Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis
Authors: อังสุมาลิน ศรีจรูญ
จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ
วราภรณ์ บุญเชียง
Authors: อังสุมาลิน ศรีจรูญ
จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ
วราภรณ์ บุญเชียง
Issue Date: 2560
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การป้องกันการติดเชื้อเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันต่อการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง มีระยะเวลาล้างไตตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป และมาตรวจตามนัดที่ศูนย์ล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 ราย และกลุ่มควบคุม 25 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ดำเนินการวิจัย ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยกลุ่มทดลองได้รับการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันตามแนวคิดของโรเจอร์ส กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสร้างแรงจูงใจในการป้องกัน แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ และแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิลคอกซัน สถิติฟรีดแมน สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อของกลุ่มทดลองหลังการสร้างแรงจูงใจในการป้องกัน 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้นจาก 38.6 คะแนน เป็น 41.2 คะแนน จากคะแนนเต็ม 44 คะแนน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติของกลุ่มทดลองหลัง 8 สัปดาห์เพิ่มขึ้นจาก 38.6 คะแนน เป็น 41.8 คะแนน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ภายหลังการสร้างแรงจูงใจในการป้องกัน 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติ 41.2 คะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ย 37.7 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และหลัง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติ 41.8 คะแนน สูงกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ย 36.7 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อทั้งในกลุ่มทดลองและในกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องให้มีการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อที่ถูกต้อง
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97845/76230
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64301
ISSN: 0125-0081
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.