Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรนุช ลีนะกนิษฐ์en_US
dc.contributor.authorวันชัย เลิศวัฒนวิลาศen_US
dc.contributor.authorอะเคื้อ อุณหเลขกะen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:01Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97856/76236en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64300-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินมี โอกาสเสี่ยงการติดเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่งสูงจากการได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กลยุทธ์หลายวิธีต่อการปฏิบัติการป้องกันและอุบัติการณ์การเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาดของพยาบาลวิชาชีพ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ 10 คน ที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกการเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ความเชื่อมั่นของการสังเกตได้เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้กลยุทธ์หลายวิธีพยาบาลวิชาชีพมีร้อยละของการปฏิบัติการป้องกันการเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาดถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในกิจกรรม การช่วยแพทย์ทำหัตถการ ร้อยละ 89.1 เป็นร้อยละ 99.1, การเย็บแผลร้อยละ 86.5 เป็นร้อยละ 99.0, การฉีดยาร้อยละ 89.4 เป็นร้อยละ 98.6, การเจาะเลือดร้อยละ 85.0 เป็นร้อยละ 97.2, การเตรียมยาฉีดร้อยละ 91.8 เป็นร้อยละ 96.4 และการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำร้อยละ 86.7 เป็นร้อยละ 93.7 อุบัติการณ์การเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาดก่อนการใช้กลยุทธ์หลายวิธีจำนวน 4 ครั้ง หลังจากใช้กลยุทธ์หลายวิธีไม่พบอุบัติการณ์การเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคม การวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้กลยุทธ์หลายวิธี สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการป้องกันการเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาดได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นและลดอุบัติการณ์การเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาดen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการใช้กลยุทธ์หลายวิธีต่อการปฏิบัติการป้องกันและอุบัติการณ์ การเกิดเข็มทิ่มแทงหรือของมีคมบาดของพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.title.alternativeEffects of Using Multimodal Strategies on Prevention Practices andIncidence of Needlestick or Sharp Injuries Among Registered Nursesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.