Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64296
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชมพูนุท สิงห์มณีen_US
dc.contributor.authorทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดชen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97840/76228en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64296-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการสนับสนุนในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านสิ่งของและบริการ และการสนับสนุนด้านอารมณ์ของครอบครัว จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง มีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ส่งผลให้มีการชะลอการเสื่อมของไตและลดภาวะแทรกซ้อนได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 30 ราย ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย ขณะทำการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มควบคุมเสียชีวิต 1 ราย ดังนั้นจึงเหลือกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มควบคุม จำนวน 14 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการส่งเสริมการสนับสนุนของครอบครัวในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง 2) คู่มือการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง 3) แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนของครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง 4) แบบสอบถามการให้การสนับสนุนของครอบครัวที่ให้แก่ผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง 5) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 6) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบทีชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t- test) และสถิติทีชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t – test ) ผลการศึกษาพบว่า 1.พฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องแบบต่อเนื่องหลังได้รับการสนับสนุนของครอบครัวดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2.พฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตผ่านช่องท้องแบบต่อเนื่องหลังได้รับการสนับสนุนของครอบครัวดีกว่าก่อนได้รับการสนับสนุนของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนของครอบครัวมีผลให้พฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องดีขึ้น ดังนั้นจึงควรแนะนำให้สมาชิกในครอบครัวให้การสนับสนุนทั้งในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านสิ่งของและบริการ และด้านอารมณ์แก่ประชากรกลุ่มดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้ประชากรดังกล่าวมีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็น โรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องen_US
dc.title.alternativeEffect of Family Support on Health Behaviors among Persons with End Stage Renal Disease Receiving Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysisen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงรายen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.