Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64294
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทัศน์วรรณ สุนันต๊ะen_US
dc.contributor.authorปิยะนุช ชูโตen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97833/76222en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64294-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสตรีหลังคลอด โดยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิดน้ำหนักคงค้างหลังคลอด ที่จะนำไปสู่การมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของสมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และความต้องการที่จะผอม ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันในสตรีหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีในระยะ 6 - 8 สัปดาห์หลังคลอด จำนวน 120 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง อายุระหว่าง 20 - 35 ปี มารับการตรวจหลังคลอดที่หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือพาบุตรมารับวัคซีนที่คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน พ.ศ.2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันในสตรีหลังคลอด แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมัน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมัน และแบบสอบถามความต้องการที่จะผอมในระยะหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. สตรีหลังคลอดมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันอยู่ในระดับปานกลาง (X = 59.22, S.D. = 3.79) 2. สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันในสตรีหลังคลอด (r = .320, p < .01) การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม การรับประทานอาหารไขมันในสตรีหลังคลอด (r = .292, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันในสตรีหลังคลอด (r = .224, p < .05) 3. สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรม การรับประทานอาหารไขมันในสตรีหลังคลอด ได้ร้อยละ 14.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สตรีหลังคลอด มีการรับประทานอาหารไขมันอย่างเหมาะสม ป้องกันการเกิดภาวะน้ำหนักคงค้างหลังคลอดที่จะนำไปสู่การมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในสตรีตามมาen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันในสตรีหลังคลอดen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Fat Diet Intake Behavior Among Postpartum Womenen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนมen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.