Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64291
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชนานันท์ แสงปากen_US
dc.contributor.authorภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำen_US
dc.contributor.authorวรนุช กิตสัมบันท์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/91155/71595en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64291-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคจิตเภทที่อาศัยอยู่ในชุมชนอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำนวน 92 คน โดยสุ่มอย่างง่ายจากประชากรจำนวน 217 คนจากทั้งหมด 6 ตำบลในอำเภอแม่ทา เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 3 ตำบล แล้วนำมาจับคู่คะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา เพศ อายุใกล้เคียงกันได้กลุ่มละ 46 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องที่พัฒนาโดยเกรย์และคณะ (Gray et al., 2003 )ร่วมกับการพยาบาลจิตเวชชุมชนเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลจิตเวชชุมชนเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาระยะเวลามนการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 30 เมษายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่การบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่อง และเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ของการวิจัย ประกอบด้วยแบบประเมินทัศนคติต่อการรักษาด้วยยา และแบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา โดยเครื่องมือวิจัยทั้งหมดได้มีการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน และผู้วิจัยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทัศนคติต่อการรักษาด้วยยาโดยใช้สูตรคูเดอร์ และริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ 0.81 และค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟ่าของครอนบาร์ค เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เชิงสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า หลังสิ้นสุดการบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่อง 2 สัปดาห์กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและทัศนคติต่อการรักษาด้วยยามีระดับสูงกว่าก่อนได้รับการบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและทัศนคติต่อการรักษาด้วยยาของกลุ่มทดลองมีระดับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ข้อเสนอแนะ การบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่อง มีผลในการพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา และทัศนคติต่อการใช้ยาในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทดีขึ้น จึงควรนำรูปแบบการบำบัดนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทเป็น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the Adherence Therapy on Medication Adherence Among Persons with Schizophrenia in Communityen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.