Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64285
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรัญญา มูลธิโตen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.contributor.authorฉวี เบาทรวงen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:00Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97828/76218en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64285-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการเป็นมารดาวัยรุ่นถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ในระยะหลังคลอดมารดาวัยรุ่นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่น การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เป็นมารดาวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มาตรวจหลังคลอด ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลปทุมธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่นของลอกส์ดอน (2009) ฉบับดัดแปลงโดยคณะผู้วิจัย แบบประเมินภาวะซึมเศร้า หลังคลอดของเอดินเบอระ สร้างโดย ค๊อกซ์ และคณะ (1987) ฉบับภาษาไทยโดย ปิตานุพงศ์, เลียบสื่อตระกูล และ วิทยานนท์ (2007) และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดของนลินี สิทธิบุญมา, กรรณิการ์ กันธะรักษา และ บังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2558) ที่สร้างจากแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาส์ (1981) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า มารดาวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ร้อยละ 42.35 และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.80 (S.D. = 4.95) มารดาวัยรุ่น ร้อยละ 82.35 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 คะแนน (S.D. = .57) 3. มารดาวัยรุ่น ร้อยละ 54.12 มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 (S.D. = .32) 4. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.256, p < 0 .05) 5. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .215, p < 0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลผดุงครรภ์ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นมีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่หลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่นen_US
dc.title.alternativePostpartum Depression, Social Support, and Functional Status Among Adolescent Mothers.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume44en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.