Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64275
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุณีย์ เอกนุชen_US
dc.contributor.authorวันชัย เลิศวัฒนวิลาศen_US
dc.contributor.authorทิพาพร วงศ์หงษ์กุลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/93409/73166en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64275-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการติดเชื้อแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะส่งผลกระทบรวดเร็วและรุนแรงมาก การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามเกณฑ์จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็นเครื่องมือดำเนินการวิจัยได้แก่ แผนส่งเสริมการจัดการตนเองสร้างขึ้นตามแนวคิดการจัดการตนเองของลอริกและฮอลแมน (Lorig & Holman, 2003) คู่มือการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดสร้างขึ้นตามแนวทางของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC, 2011) และเครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกจำนวนครั้งของการติดเชื้อ แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแคว์ และสถิติค่าที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อเท่ากับ 14 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.55 มากกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อเท่ากับ 6 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 มีอุบัติการณ์การติดเชื้อในกลุ่มทดลองเท่ากับ 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมเกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อ 4 ครั้ง ซึ่งมากกว่ากลุ่มทดลอง 2 เท่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมการจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัดมีการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นควรนำการส่งเสริมการจัดการตนเองไปประยุกต์อย่างต่อเนื่องเพื่อการป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeEffects of Self-Management Enhancement on Infection Prevention Practices and Incidence of Infection Among Patients with Leukemia and Lymphoma Receiving Chemotherapyen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จังหวัดกรุงเทพมหานครen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.