Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชลดา สติปัญen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.contributor.authorนันทพร แสนศิริพันธ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92433/72402en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64268-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอดมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของบิดา มารดา และบุตร การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารก และการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เป็นบิดาครั้งแรก ที่มีบุตรอายุ 6-8 สัปดาห์ จำนวน 102 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของ พัชรินทร์ เราจุติธรรม (Raojutitham, 2006)แบบสอบถามความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารกดัดแปลงมาจากแบบสอบถามความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารก ของเยาวลักษณ์ แฉขุนทด (2539) และแบบสอบถามการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด ของ ศุภกร ไชยนา และนันทพร แสนศิริพันธ์ (ศุภกร ไชยนา, 2558) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .58 , p < .01) และความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารกมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .51 , p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการพยาบาล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอดen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารก และการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอดen_US
dc.title.alternativeMarital Relationship, Father-infant Attachment and Father Involvement in Postpartum Perioden_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.