Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนันทวัน สมนาศักดิ์en_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ มีสุขโขen_US
dc.contributor.authorอุษณีย์ จินตะเวชen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.available2019-05-07T10:01:59Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92435/72403en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64264-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายได้รับการยอมรับว่าเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาล อย่างไรก็ตามพบว่า พยาบาลฉุกเฉินมีการปฏิบัติในเรื่องนี้น้อย ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลฉุกเฉิน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยตรวจฉุกเฉิน โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนจำนวน 6 โรงพยาบาลและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเลือกแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย (2) แบบประเมินความรู้ของพยาบาลฉุกเฉินเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย (3) แบบประเมินทัศนคติของพยาบาลฉุกเฉินเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98, 0.81, และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลฉุกเฉินมีการปฏิบัติและมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 52.94 และ 64.71 ตามลำดับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายคิดเป็นร้อยละ 81.49 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายของพยาบาลฉุกเฉินในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.26, p < 0.01) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.31, p < 0.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายของพยาบาลฉุกเฉิน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมให้พยาบาลมีความรู้และทัศนคติที่ดี เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายในหน่วยตรวจฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในพยาบาลฉุกเฉินen_US
dc.title.alternativePractices of End-of-Life Care Pediatric Patients and Related Factors Among Emergency Nursesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsศูนย์ศรีพัฒน์คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.