Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทร์ดา บุญประเสริฐen_US
dc.contributor.authorศิริรัตน์ ปานอุทัยen_US
dc.contributor.authorโรจนี จินตนาวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T09:59:55Z-
dc.date.available2019-05-07T09:59:55Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0125-0081en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92430/72399en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64257-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractกระบวนการสูงอายุส่งผลให้สมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันอย่างอิสระของผู้สูงอายุลดลง การออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีความหนักเบาระดับปานกลางสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายได้ การวิจัย กึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะต่อสมรรถภาพ ทางกายในผู้สูงอายุ จำนวน 52 รายที่อาศัยอยู่ในตำบลสันทรายงาม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2556 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย โดยมีความคล้ายคลึงกันในด้าน เพศ อายุ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ และความทนทานของปอดและหัวใจ กลุ่มทดลองมีการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะ ครั้งละ 50 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบบันทึกความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ และความทนทานของปอดและหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อภายหลังการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2. สมรรถภาพทางกายด้านความทนทานของปอดและหัวใจภายหลังการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 3. สมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ และความทนทานของปอดและหัวใจของกลุ่มทดลองภายหลังการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะมากกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ และความทนทานของปอดและหัวใจในผู้สูงอายุได้ ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeEffect of Hatha Yoga Exercise on Physical Fitness Among Older Personsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleพยาบาลสารen_US
article.volume43en_US
article.stream.affiliationsโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงรายen_US
article.stream.affiliationsคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.