Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48618
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorปิ่นทิพย์ มะโนหาญen_US
dc.date.accessioned2018-05-02T08:32:08Z-
dc.date.available2018-05-02T08:32:08Z-
dc.date.issued2558-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48618-
dc.description.abstractThis independent study aimed to analyze the environmental management under corporate responsibility concept of pig farms in Intaklin Subdistrict, Mae Taeng district, Chaing Mai province. The purpose or this study are 1) study the processes of environmental management and corporate social responsibility of the pig farms for approaching to be the green farm model. 2) study the satisfiction of the community to the result of pig farm environmental management. 3) study the problems and obstacles of the pig- farm environmental management in the area. 4) relate the opinions and suggestions of the stake-holders about the improvement of the environmental management for providing the long-term farm sustainability. This independent study used a mixture of quantitative and qualitative research data. The research methodology carried out using questionnaires and semi-structured interviews. The samples used in this study included 350 samples from the community of Pangkawng village, Nongpueng village, Thubdeau village (the villages of Mae Taeng District) and 16 interviews of government officers and academicians and the pig-farm traders. The result of the study shows that the pig farms in the area of study to practice the environment management and social responsibility ( =1.75) in the manner of controlling and checking the pollutions, the wastes (residual liquid and solid) which was carried out under the supervision of community representators . The stake- holders in the population of Inthakiln subdistrict, Mae Taeng district, Chiang Mai province are not satisfy with the environmental management of pig farms. ( =2.44) But their dissatifictions are different in requirements and comments of problem solving. The stake-holders of the population require the continuous maintainance of development and improvment in farm managements such as improvement of the broiler houses, the biogas systems by coverling with plastics, strictly controlling the pollutions and the wastes by product. ( =2.65)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของฟาร์มสุกรในตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEnvironmental Management Under Corporate Social Responsibility Concept of Pig Farms in Intaklin Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของฟาร์มสุกรในตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงรูปแบบกิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมของฟาร์มสุกร ในพื้นที่ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปสู่การเป็นฟาร์มสีเขียว (Green Farm) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนตำบลอินทขิล ต่อผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของฟาร์มสุกร ตามหลักการจัดการที่นำไปสู่ฟาร์มสีเขียวของฟาร์มสุกรในพื้นที่ตำบลอินทขิล 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มสุกร ในเขตพื้นที่ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปสู่การเป็นฟาร์มสีเขียว) เพื่อสำรวจความคิดเห็นและข้อแสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในชุมชนเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขการจัดการฟาร์มสุกร เพี่อความยั่งยืนในการดำเนินกิจการ การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) ผสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และ แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured Interview) การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน หมู่บ้านปางกว้าง หมู่บ้านหนองผึ้ง และหมู่บ้านทับเดื่อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 350 คน และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ นักวิชาการและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 16 คน ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ ฟาร์มสุกรในเขตพื้นที่ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการปฏิบัติตามรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการติดตาม ตรวจสอบ เกี่ยวกับสภาพน้ำ และกลิ่นจากฟาร์มสุกร เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมีการตรวจสอบและร่วมกิจกรรม เพื่อป้องกันปัญหาและผลกระทบ ( =1.75) ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นกลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยมีความพึงพอใจต่อผลการจัดการฟาร์มสุกรภายใต้แนวคิดและหลักการจัดการฟาร์มสีเขียวของฟาร์มสุกรในเขตพื้นที่ตำบลอินทขิล อำเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ( =2.44) โดยพบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านปางกว้าง หมู่บ้านหนองผึ้ง และหมู่บ้านทับเดื่อ มีความแตกต่างกัน เช่น ต้องการให้แก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน และมีการพูดคุยกันระหว่างชาวบ้านและเจ้าของฟาร์ม เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจ จะเกิดขึ้น เป็นต้น ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้ฟาร์มสุกรปรับปรุงแก้ไข พัฒนาเกี่ยวกับการจัดการฟาร์มสุกรตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ( =2.65) โดยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขการจัดการฟาร์มสุกร เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินการ ได้แก่ การปรับปรุงโรงเรือนระบบปิด การจัดการน้ำเสียและมูลสุกรจากโรงเรือน โดยการนำลงบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบพลาสติกคลุมบ่อ เป็นต้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docAbstract (words)199 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 262.13 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS4.83 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.