Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลงกรณ์ คูตระกูล-
dc.contributor.authorรุ่งอรุณ อินทร์มณีen_US
dc.date.accessioned2018-04-17T02:12:58Z-
dc.date.available2018-04-17T02:12:58Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46088-
dc.description.abstractThe study of Knowledge Management in Creating Healthy Community of U-Mong Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province aimed to study the process of knowledge management that led to the development of a prototype livable community, including factors related to the success in driving the policy of livable community, and to present the results of the livable community due to the development in economy, society, culture, and environment. The research methodology was a qualitative research by using the case study. Data used in this study was from the interview with 22 informants or 3 groups of people as follows: (1) eleven community leaders included Subdistrict Chief and Village Headman (2) ten representatives of learning resources (3) one executive of U-Mong Subdistrict Municipality included the mayor or the deputy mayor. Furthermore, there were studying of the relevant academic documents. The results of the study were shown as below. Knowledge management of U-Mong Subdistrict Community was consistent with TUNA Model which was linked to the development goal of the district, the development vision, the strategic development plan, and the community plan. There were various individuals involved in knowledge management of U-Mong Subdistrict such many as local executives, community leaders, the commissions who were appointed by U-Mong Subdistrict Municipality, network members who were from both inside and outside community, members of 24 learning resources, team learning lecturer, and U-Mong Subdistrict Municipality. Besides, the four factors of the entire community included community infrastructure, communication, participation, human development in community were the driving force for the community to be strengthened significantly. The results of operations in development had appeared in form of management and changes in economy, society, culture, and environment. The suggestions of the study were as follows: (1) many groups in community should be supported and strengthened capacity to be the new learning resources for U-Mong Subdistrict Community and to be the model for other communities in education (2) there should be the indicators to assess the implementation of learning resources in each place in U-Mong Subdistrict Community to get the information as a guideline for potential analysis to determine the way to develop the learning resources (3) the participation of the public in attending activities or learning resources of U-Mong Subdistrict Community was limited to only certain parts, so U-Mong Subdistrict Municipality should organize activities or projects to create more opportunities for the access of public sector and community leaders.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการจัดการความรู้en_US
dc.subjectเทศบาลตำบลอุโมงค์en_US
dc.titleการจัดการความรู้ในการสร้างตำบลน่าอยู่ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeKnowledge Management in Creating Healthy Community of U-Mong Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc307.14-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาชุมชน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashการบริหารองค์ความรู้ -- ลำพูน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 307.14 ร429ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา เรื่อง การจัดการความรู้ในการสร้างตำบลน่าอยู่ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของชุมชนตำบลอุโมงค์ที่นำไปสู่การพัฒนาเป็นชุมชนน่าอยู่ต้นแบบ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายชุมชนตำบลน่าอยู่ และนำเสนอถึงผลที่ชุมชนได้รับจากการพัฒนาเป็นชุมชนน่าอยู่ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีกรณีศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในศึกษามาจากการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) แกนนำชุมชน ประกอบด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 11 คน (2) ตัวแทนแหล่งเรียนรู้ จำนวน 10 คน และ (3) ผู้บริหารเทศบาลตำบลอุโมงค์ ประกอบด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 22 คน และศึกษาจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง สื่อสารสนเทศออนไลน์ ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ การจัดการความรู้ของชุมชนตำบลอุโมงค์มีความสอดคล้องกับแบบจำลองปลาทู โดยมีการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาตำบล วิสัยทัศน์การพัฒนา แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับหัวของปลา การพัฒนากลุ่มต่างๆให้เป็นแหล่งเรียนรู้ 24 แหล่ง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เปรียบเสมือนตัวปลา และการจัดเก็บและรวบรวมความรู้ในรูปแบบของคลังความรู้ เปรียบเสมือนส่วนหางของตัวปลา โดยมีบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ของตำบลอุโมงค์ ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น แกนนำชุมชนของตำบลอุโมงค์ คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเทศบาลตำบลอุโมงค์ สมาชิกเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน สมาชิกของแหล่งเรียนรู้ทั้ง 24 แหล่ง ทีมวิทยากรประจำแหล่งเรียนรู้ และเทศบาลตำบลอุโมงค์ โดยปัจจัยของชุมชน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานในชุมชน การสื่อสาร การมีส่วนร่วม และการพัฒนาคนในชุมชน มีนัยสำคัญในการเป็นพลังขับเคลื่อนให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ผลของการดำเนินงานในการพัฒนาเป็นชุมชนตำบลน่าอยู่ของตำบลอุโมงค์ ได้ปรากฏออกมาในลักษณะของการบริหารจัดการและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา (1) กลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนควรได้รับการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพให้มีความเข้มแข็งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ ให้แก่ชุมชนตำบลอุโมงค์ได้ และเป็นต้นแบบในการศึกษาให้แก่ชุมชนอื่นๆ (2) ควรจัดให้มีตัวชี้วัดเพื่อใช้ประเมินการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนตำบลอุโมงค์ในแต่ละแหล่ง ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ศักยภาพกำหนดแนวทางการพัฒนาของแหล่งเรียนรู้ต่อไป และ(3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรมหรือแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตำบลอุโมงค์ยังจำกัดอยู่เพียงบางส่วน ดังนั้น เทศบาลตำบลอุโมงค์จึงควรจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงของภาคประชาชน และผู้นำชุมชนให้มากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)64.16 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 229.31 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
full.pdfFull IS3.91 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.