Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45995
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรสริน โอสถานันต์กุล-
dc.contributor.advisorกัญญ์สุดา นิ่มอนุสสรณ์กุล-
dc.contributor.authorอติภาว์ ณ กุลen_US
dc.date.accessioned2018-04-04T08:47:01Z-
dc.date.available2018-04-04T08:47:01Z-
dc.date.issued2557-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45995-
dc.description.abstractThis study aimed to investigate the factor affecting the decision of being a food hawker in Chiang Mai Municipality. The objective of this study are the analyze hawker food industry and study the personal factors and socioeconomic factor that affecting of being a food hawker. In order to understand the food operation business, data and information were collected from 200 samples via questionnaires which were distributed to hawker food in Chiang Mai municipality. Chi-Square and Logistic regression model was used to determine factors influencing the decisions of being a food hawker. The Kruskal-Wallis test was used to test about food safety knowledge of food hawker that devided into 4 groups in sub-district of Chiang Mai municipality. Studies have found that most of the food hawker concentrated in eight major markets in Chiang Mai municipality, which were San Pa Khoi Market, Ton Payom Market, Chiang Mai Gate Market, Waroros Market, Mueang Mai Market, Chang Phueak Gate Market, Chiang Mai Gate Market, Ton Lum Yai Market Additional food hawker were concentrated around hospital, school and government facility. Food hawker qenerally prepared ready to cook food. The result of Chi-Square test found that the test for independence of variable is marital status, number of family member, resident, original income compare with current income, period of unemployment and persuasion. When studying the factors effecting the decision of being a hawker food by using Logit model education, marital status, original income compare with current income, period of unemployment and persuasion were the important factors when deciding to be a food hawker at the level of statistical significance. The result about food safety knowledge of hawker by using the Kruskal-Wallis test found that mean rank of Si Wichai sub district has maximum score and then was Kawila sub district. Median of food safety knowledge score of all sub districts was not different.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอาชีพหาบเร่-แผงลอยen_US
dc.subjectเทศบาลนครเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหาบเร่-แผงลอยอาหาร ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting the Decisions of Being a Food Hawker in Chiang Mai Municipalityen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc158.6-
thailis.controlvocab.thashความสนใจทางอาชีพ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการตัดสินใจ-
thailis.controlvocab.thashอาชีพ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 158.6 อ143ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของอุตสาหกรรมอาหารหาบเร่แผงลอยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเข้ามาประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมหาบเร่แผงลอยอาหาร รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการที่มีต่อการประกอบธุรกิจอาหาร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ค้าหาบเร่แผงลอยอาหารในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่จำนวน 200 คน โดยทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่มโดยแบ่งตามแขวงการปกครอง ได้แก่ แขวงศรีวิชัย แขวงกาวิละ แขวงเม็งราย และแขวงนครพิงค์ แขวงละ 50 คน การวิเคราะห์ใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) และใช้แบบจำลองโลจิท (Logit Model) ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอยอาหาร และในการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการที่มีต่อการประกอบธุรกิจอาหารใช้วิธี Kruskal-Wallis Test ผลการวิจัยพบว่า ร้านค้าหาบเร่แผงลอยอาหารส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 8 ตลาดใหญ่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้แก่ ตลาดสันป่าข่อย ตลาดต้นพยอม ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดวโรรส ตลาดเมืองใหม่ ตลาดประตูช้างเผือก ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดต้นลำไย และมีบางส่วนกระจุกตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่ บริเวณรอบโรงพยาบาล โรงเรียนหรือแม้แต่สถานที่ราชการ ซึ่งอาหารที่ขายมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารตามสั่งหรืออาหารจานเดียว รองลงมาเป็นกับข้าวและของทอดตามลำดับ การวิเคราะห์ความเป็นอิสระของตัวแปรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอยอาหาร ด้วยวิธีไคสแควร์ (Chi-Square) พบว่าตัวแปรที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว ลักษณะที่อยู่อาศัย รายได้เดิมเมื่อเทียบกับรายได้ปัจจุบัน ระยะเวลาในการว่างงาน และการชักจูงเข้าสู่อาชีพ ผลการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอยอาหารโดยวิธีโลจิท (Logit) พบว่า ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้เดิมเมื่อเทียบกับรายได้ปัจจุบัน ระยะเวลาในการว่างงานและการชักจูงเข้าสู่อาชีพ เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดรูปแบบการตัดสินใจเข้าสู่อาชีพหาบเร่แผงลอยอาหาร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการศึกษาในเรื่องความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการที่มีต่อธุรกิจอาหารโดยวิธี Kruskal-Wallis พบว่า ค่าเฉลี่ยของอันดับ (Mean Rank) ของแขวงศรีวิชัยมีค่ามากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ค้าหาบเร่แผงลอยอาหารในแขวงกาวิละมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยทางอาหารมากที่สุด และค่ามัธยฐานของคะแนนความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารปลอดภัยของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยอาหารในแต่ละแขวงมีระดับความรู้ความเข้าใจที่ไม่แตกต่างกันen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT177.63 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX464.71 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1467.55 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2737.99 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3476.43 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4936.25 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5319.33 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT178.43 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER573.18 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE265.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.