Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45937
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์-
dc.contributor.advisorนิสิต พันธมิตร-
dc.contributor.authorศตวรรษ วรรณพันธ์en_US
dc.date.accessioned2018-03-26T08:20:34Z-
dc.date.available2018-03-26T08:20:34Z-
dc.date.issued2557-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45937-
dc.description.abstractNon – profit organization followed public economics named Entomology Research Center 1 was located in Nqao district, Lampang Thailand. The objective of this research was to explore the factor affecting for adoption and support this center’s development. Research methodology was used primary data by questionnaires creation. The data was collected from 500 samples of people in Lampang province. A sample of people in Lampang cases were drawn from using stratified random sampling. This cross – section data surveyed during from January – March, 2014. Firstly, the analysis on general data was derived into two sample groups: adoption (440 samples) and non – adoption (60 samples). After that, the demographic and socio – economic data of the sampled people in Lampang could be described as being male (53.2%), average aged 34.87, aged 15 – 25 (31.4%), graduated in bachelor’s degree (37.4%), earning 5,000 – 10,000 bath monthly personal income (35%), respectively. Secondary, on factors affecting people’ adoption data analysis was accomplished by using Logit model. This study found that improving entomology museum was the primary decisive factor increasing the likelihood for the people to adoption and support Entomology Research Center 1’s development by 21.94%. The next more influential factors likely to improve the chance for people’s in Lampang adoption by 5 – 15% included conservation insect project, notion of insect versus health system, Perception insect news, education, knowing Entomology Research Center, travel on Asian Highway number 2 (AH2). Meanwhile, monthly person income appeared to be able to increasing the likelihood for people’s adoption by only 4.15%. In the other hand, notion of insect versus nutrition appeared to be able to decreasing the likelihood for people’ adoption by 7.45%. In addition, this research was given an opportunity to comment about how to fixed obstruction of development. Reported by people in Lampang was found that the predominant problem and constraints as being distance from Muang Lampang district to Ngao district. In contrast, Reported by people in Lampang was found that the predominant way to support Entomology Research Center 1’s development as preferred travel to Entomology Research Center 1 more than donation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectองค์กรไม่แสวงหากำไรen_US
dc.subjectศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและสนับสนุนองค์กรไม่แสวงหากําไร : กรณีศึกษาการพัฒนาศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 จังหวัดลําปางen_US
dc.title.alternativeFactor Affecting the Adoption and Support for Non – profit Organization Development: A Case Study of Entomology Research Center 1, Lampang Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc658.048-
thailis.controlvocab.thashศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1-
thailis.controlvocab.thashองค์กรไม่แสวงหากำไร -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาแบบยั่งยืน-
thailis.controlvocab.thashความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 658.048 ศ147ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทำการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ และสนับสนุนการพัฒนาศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 อำเภองาว จังหวัดลำปาง อันเนื่องมาจากทางศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 ได้มีการวางแผนจัดทำบริการและโครงการสาธารณะประโยชน์เพื่อตอบสนองนโยบายเศรษฐศาสตร์สาธารณะ ซึ่งเข้าข่ายสามารถเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรได้ การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและสนับสนุนการพัฒนาดังกล่าว กระทำการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นปฐมภูมิ โดยการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชากรในจังหวัดลำปางจำนวน 500 คน สำรวจเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างประชากรด้วยวิธีแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ระหว่างเดือนมกราคม 2557 ถึง มีนาคม 2557 จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ยอมรับและสนับสนุนการพัฒนาศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 มีจำนวน 440 คน คิดเป็นร้อยละ 88.0 และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ไม่ยอมรับและสนับสนุนการพัฒนาศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 12.0 ในส่วนข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างประชากรแบ่งเป็นเพศชายจำนวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 53.2 และเป็นเพศหญิงจำนวน 23.4 คน คิดเป็นร้อยละ 46.8 กลุ่มตัวอย่างประชากรมีอายุเฉลี่ยที่ 34.87 ปี ส่วนใหญ่จำนวนกลุ่มตัวอย่างประชากรจะมีอายุอยู่ในช่วง 15 - 25 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.4 และรองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุอยู่ในช่วง 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.4 ในส่วนระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างประชากร พบว่า กลุ่มตัวอย่างประชากรผู้มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 37.4 ในขณะที่กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้มีระดับรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001 – 10,000 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 35 จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยแบบจำลองโลจิท (Logistic regression model) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกยอมรับและสนับสนุนการพัฒนาศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 อำเภองาว จังหวัดลำปาง พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและสนับสนุนการพัฒนาศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 มากที่สุด คือ โครงการพิพิธภัณฑ์แมลงไม่เสียค่าเข้าชม มีผลต่อโอกาสที่จะทำให้ประชาชนยอมรับและสนับสนุนศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 รองลงมา ได้แก่ โครงการอนุรักษ์แมลงคุ้มครองและควบคุมการลักลอบ ทัศนคติเกี่ยวกับหัวข้อแมลงกับระบบสาธารณสุข การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับแมลงของกลุ่มตัวอย่างประชากร ระดับการศึกษา การรู้จักศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 การเดินทางสัญจรบนถนนสายอำเภอเมืองลำปาง – อำเภองาว มีผลต่อโอกาสที่จะทำให้ประชาชนยอมรับและสนับสนุนศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 – 15 ตามลำดับ ในขณะที่ระดับรายได้ต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างประชากรมีผลต่อโอกาสที่จะทำให้ประชาชนยอมรับและสนับสนุนศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดร้อยละ 4.15 นอกจากนี้ยังพบว่าทัศนคติเกี่ยวกับหัวข้อแมลงกับโภชนาการสารอาหารมีผลต่อโอกาสที่จะทำให้ประชาชนยอมรับและสนับสนุนศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 ลดลงร้อยละ 7.45 นอกเหนือจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การศึกษาในครั้งนี้ยังได้เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคต่อการพัฒนาศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 โดยรวมที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต โดยพบว่า ประชาชนในจังหวัดลำปางให้ความสำคัญในประเด็นเกี่ยวกับระยะทางในการเดินทางจากอำเภอเมืองลำปางไปศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนามากที่สุด ในขณะที่การยื่นความช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาศูนย์วิจัยศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 นั้น ประชาชนมีความยินดีที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 มากกว่าการช่วยเหนือทางการเงินen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT234.76 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.96 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1427.6 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2583.29 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3317.84 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4490.49 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5260.04 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT218.09 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER641.22 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE292.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.