Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45865
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ บุญเชียง-
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ ใจมูลen_US
dc.date.accessioned2018-03-13T07:15:11Z-
dc.date.available2018-03-13T07:15:11Z-
dc.date.issued2557-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45865-
dc.description.abstract“HIV Discordant Couples” is groups of husband and wife or couples which one of them is infected with HIV. This group is important in terms of the control and prevention of HIV propagation as they are in high risk of HIV-infection. The study was a qualitative study aims to study pattern and condition of sexual risk behavior among HIV-infected group with HIV discordant couples in Chiang Mai Province. It was considered according to the Ecology Model which was divided in 3 dimensions, 1) Intrapersonal factor, 2) Interpersonal factor, 3) Community factor. Data were collected by qualitative method from June to September, 2013 from 16 samples. The data collection tools consisted of two parts, first was a record of personal information, data were analyzed by distributed frequency and percentage. Second tool was semi-structured interview questions, analyzed data by categorizing data and summarizing main idea. Results from the study found that HIV discordant couples had pattern of sexual risk behaviors as follows. Disclosure of HIV status, everybody revealed their HIV status for their couples. Their couples also accepted and had normal daily life. For the condom use behavior, it was found that they did not use condom before they knew the HIV test results. There was a group of people who consistently used condom, however the frequency of condom use decreased when the time passed. Moreover, there was another group who never used condoms with HIV discordant couple. Reasons for not using condom were unnatural feeling, alcohol drinking, difficulties in using condom, women had no power to negotiate with men about condom use, blood test results of person found no HIV infection, and the way to represents love and loyalty. In terms of condition of sexual risk behavior among HIV-infected group with HIV discordant couples in 3 dimensions, it was found that 1) Intrapersonal factor: attitudes of HIV-infected person with HIV discordant couples affected behaviors of not using condom, although they had accurate knowledge about prevention of HIV propagation. 2) Interpersonal factor: relationship between HIV discordant couples; argument avoidance, boredom in talking about using condom, thought that condom was unnecessary for couples and tiredness from work, affected condom use behavior. However, the relationship between family and a group of friends or colleagues did not affect the use of condoms. 3) Community factor: attitudes of community toward AIDS and HIV-infected people had no relationship with sexual and condom use behavior of HIV-infected group with HIV discordant couples. Results of the study can be used to plan and seek for solutions of the problem in order to decrease sexual risk behaviors among HIV-Infected group with HIV discordant couples and prevent the propagation of HIV to others.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศen_US
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวีen_US
dc.titleแบบแผนและเงื่อนไขของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกัน ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePattern and Condition of Sexual Risk Behavior Among HIV-Infected Group with HIV Discordant Couples in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc616.9792-
thailis.controlvocab.thashผู้ติดเชื้อเอชไอวี -- พฤติกรรมทางเพศ-
thailis.controlvocab.thashโรคเอดส์ -- ผู้ป่วย -- พฤติกรรมทางเพศ-
thailis.controlvocab.thashผู้ติดเชื้อเอชไอวี -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 616.9792 ย517บ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractกลุ่มสามีภรรยาหรือคู่รักที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งติดเชื้อเอชไอวี เรียกว่า“คู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกัน” เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนและเงื่อนไขของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกัน ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพิจารณาตามแบบจำลองด้านนิเวศน์วิทยา (Ecology Model) จำแนกเป็น 3 มิติ ได้แก่ 1) มิติปัจจัยภายในบุคคล 2) มิติปัจจัยระหว่างบุคคล และ 3) มิติปัจจัยด้านชุมชน รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 16 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และส่วนที่ 2 แนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยจัดหมวดหมู่ข้อมูลและสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกัน มีแบบแผนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ดังนี้ การเปิดเผยผลเลือดกับคู่นอนพบว่า ทุกคนเปิดเผยผลเลือดแก่คู่สามีภรรยาหรือคู่นอนประจำ ซึ่งคู่ของผู้ติดเชื้อเอชไอวียอมรับและใช้ชีวิตด้วยกันตามปกติ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยพบว่า ก่อนทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย แต่หลังจากทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีพบว่า มีกลุ่มที่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งแต่เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนครั้งของใช้ถุงยางอนามัยลดลง อีกกลุ่มหนึ่งคือไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่ที่มีผลเลือดเอชไอวีต่างกัน เหตุผลของการไม่ใช้ถุงยางอนามัยได้แก่ ความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรมชาติ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การใช้ถุงยางอนามัยมีความยุ่งยาก ผู้หญิงไม่มีอำนาจการต่อรองเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย ผลการตรวจเลือดของคู่ที่ไม่พบการติดเชื้อเอชไอวี และความคิดว่าการไม่ใช้ถุงยางอนามัยแสดงถึงความรัก ความซื่อสัตย์ ไม่มีการรังเกียจ ส่วนเงื่อนไขของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกันใน 3 มิติ ได้แก่ 1) มิติปัจจัยภายในบุคคลพบว่า ทัศนคติของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการไม่ใช้ถุงยางอนามัย ถึงแม้ทุกคนจะมีการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวี 2) มิติปัจจัยระหว่างบุคคลพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สามีภรรยาของ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้แก่ ความต้องการหลีกเลี่ยงการทะเลาะกัน ความเบื่อหน่ายในการพูดคุยเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย คู่ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีคิดว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่มีความจำเป็นสำหรับคู่สามีภรรยา และความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน มีผลต่อพฤติกรรมการไม่ใช้ถุงยางอนามัย ด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานพบว่า ไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมไม่ใช้ถุงยางอนามัย 3) มิติปัจจัยด้านชุมชนพบว่า ทัศนคติของชุมชนต่อโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศสัมพันธ์และการเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกัน จากผลการศึกษาสามารถนำไปวางแผนและหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีคู่ผลเลือดเอชไอวีต่างกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่บุคคลอื่นต่อไป  en_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT164.93 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdf APPENDIX438.88 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1194.06 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2332.67 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3174.81 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4510.44 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5192.16 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdf CONTENT138.28 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER534.99 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE243.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.