Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45840
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพลิน ภู่จีนาพันธุ์-
dc.contributor.authorโอวาท ทาใจen_US
dc.date.accessioned2018-03-13T02:36:00Z-
dc.date.available2018-03-13T02:36:00Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45840-
dc.description.abstractThe study “Problems and Obstacles in the Transferring of Public Health Center to Subdistrict Administrative Organization in Mueang, Lamphun District” aimed to 1) examine the problems and obstacles in the transferring of public health centers to subdistrict administrative organizations in Mueang, Lamphun District and 2) find out possible solutions to these problems and obstacles as well as ways to appropriately and effectively transfer the public health centers to the subdistrict administrative organizations. This qualitative research employed the documentary research and interview methods. In addition, an open-ended in-depth interview method was conducted with the administrators from Lamphun Public Health Office, subdistrict health centers/hospitals, and subdistrict administrative organizations. Also a semi-structured method was conducted with officials from the health divisions at local administrative organizations and subdistrict health centers/hospitals. Moreover, descriptive analysis was used to analyze the data. The data revealed that there are 5 main problems and obstacles in the transferring of public health centers to subdistrict administrative organizations in Mueang, Lamphun District. First of all, the central policies were not clear especially the Ministry of Public Health, as the transferor, paid more attention to the regional health networks than the transferring of public health centers to subdistrict administrative organizations. Secondly, the budgets allocated by the central government supporting the local administrative organizations did not follow the decentralization plans and procedures. The third problem was the administrators and officials at local administrative organizations were lack of understanding about the transferring of public health centers to subdistrict administrative organizations. Furthermore, most of the subdistrict administrative organizations in Mueang, Lamphun District were small to medium size organizations causing the administrators to focus more on the development of the basic infrastructure mission. Finally, the administrators and officials from the public health centers/hospitals were worried and did not trust the administrators from the local administrative organizations because these administrators were lack of public health knowledge. They also did not trust the budget management which might involve corruptions. Consequently, these administrators and officials did not want to be transferred to the local administrative organizations. Followings are possible solutions to the problems and obstacles in the transferring of public health centers to subdistrict administrative organizations in Mueang, Lamphun District. 1. The government should quickly allocate the budgets for the local administrative organizations according to the designated decentralization plans. 2. The Ministry of Public Health and the local administrative organizations should cooperate in the operation of the transferring the public health centers and establish the job security preparing for the transferring of the officials from the public health centers to the local administrative organizations. 3. The officials from the local administrative organizations and the public health centers should be educated about the transferring of the public health centers for a more effective transfer. 4. The government should encourage the public to participate in monitoring the transfer after the transfer process has completed. 5. The government should allow the local administrative organizations to freely manage their own organizations according to the decentralization plans to effectively provide the benefits for the local people.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสถานีอนามัยen_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองลำพูนen_US
dc.title.alternativeProblems and Obstacles in the Transferring of Public Health Center to Subdistrict Administrative Organization in Mueang, Lamphun District.en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc352.17-
thailis.controlvocab.thashการปกครองท้องถิ่น -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashสถานีอนามัย -- ลำพูน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 352.17 อ872ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา เรื่อง ปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองลำพูน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรค ที่มีผลต่อการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองลำพูน 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา และแนวทางการถ่ายโอนที่เหมาะสมให้แก่หน่วยงานที่ต้องการนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไข การถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการวิจัยเอกสาร(Documentary Research) และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง กับกลุ่มของผู้บริหารของสาธารณสุขจังหวัดลำพูน ผู้บริหารของสถานีอนามัย/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกองสาธารณสุของค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานของสถานีอนามัย/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์แบบเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัญหา และอุปสรรคที่ทำให้การถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองลำพูนไม่สามารถจะดำเนินการได้ มีประเด็นหลักๆ อยู่ 5 ประเด็นคือ 1) ด้านนโยบายของส่วนกลางยังมีความไม่ชัดเจน โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้โอนไม่ให้ความสำคัญกับการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่กลับไปให้ความสำคัญกับเรื่องเครือข่ายบริการสุขภาพระบบเขตแทน 2) ด้านงบประมาณที่รัฐบาลกลางไม่ได้ให้เงินสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น 3) ผู้บริหาร และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองลำพูนส่วนมากจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลให้ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการพัฒนาภารกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก และ 5) ผู้บริหารและบุคลากรของสถานีอนามัยกังวลและไม่ไว้วางใจผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดความรู้ความเข้าใจในด้านสาธารณสุข และไม่ไว้วางใจการบริหารจัดการงบประมาณที่อาจเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นส่งผลให้เกิดทัศนคติที่ทั้งผู้บริหาร และบุคลากรของสถานีอนามัย/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลไม่ต้องการโอนย้ายไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่มีผลต่อ ดำเนินการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเมืองลำพูนได้แก่ 1. รัฐบาลควรเร่งจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ตามเป้าหมาย การกระจายอำนาจที่ได้ระบุไว้ในแผนการกระจายอำนาจ 2. กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องต้องร่วมมือกันในการ ดำเนินการเรื่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยพร้อมทั้งสร้างความความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน รองรับการถ่ายโอนบุคลากรของสถานีอนามัยไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. ต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้บุคลากรขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และสถานีอนามัยเพื่อให้กระบวนการถ่ายโอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบภายหลังการถ่ายโอน 5. ภาครัฐต้องให้อิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางการกระจายอำนาจ เพื่อให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้างประโยชน์สูงสุดให้ประชาชนในพื้นที่en_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT206.25 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdf APPENDIX228.42 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1235.05 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2457.24 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3194.24 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4264.5 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5257.63 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT317.74 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER451.79 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE165.38 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.