Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/43390
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงฤดี ลาศุขะ-
dc.contributor.authorถนอมจิตร์ ปินตาปินen_US
dc.date.accessioned2017-12-18T06:45:45Z-
dc.date.available2017-12-18T06:45:45Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/43390-
dc.description.abstractHypertension is a chronic disease commonly found in older monks. Nursing management is a method for controlling blood pressure. This operational study aimed to evaluate the effectiveness of nursing management guidelines implementation for older monks with hypertension receiving care at the outpatient monk clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital between March and June 2014. The study population consisted of 3 register nurses and 30 monks with uncontrolled hypertension. The first group of 15 patients received routine care that did not include the nursing management guidelines, while the remaining 15 patients received care based on the nursing management guidelines. Study instruments was Yodying’s Nursing Management Guidelines Among Elderly with Hypertension (2012). The effectiveness of the guidelines was evaluated based on clinical outcomes, including the proportion of older monks whose blood pressure could be brought under control, the nurses’ level of satisfaction with implementing the nursing management guidelines, and the older monks’ level of satisfaction with the treatment of their hypertension. Data were analyzed using descriptive statistics.   Study results revealed that: 1. The proportion of older monks with controlled blood pressure by implementation group and non-implementation group were 0.60 and 0.40, respectively. 2. Nurses had a high level of satisfaction with the implementation of the nursing management guidelines. 3. The older monks had a high level of satisfaction with care based on the nursing management guidelines. Registered nurses who take care the older monks with hypertension should be encouraged to use the nursing management guidelines for continuously improving the quality of care among older monks.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการจัดการทางการพยาบาลen_US
dc.subjectพระสงฆ์en_US
dc.subjectโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.subjectคลินิกสงฆ์อาพาธen_US
dc.subjectโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลใน พระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง คลินิกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Implementing Nursing Management Guidelines among the older monks with Hypertension, Outpatient Monk Clinic, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.thashNursing management-
thailis.controlvocab.thashHypertension-
thailis.manuscript.callnumberW 4 ถ15ป 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในพระสงฆ์สูงอายุ การจัดการทางการพยาบาลเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลในพระสงฆ์สูงโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการที่คลินิกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557 ประชากรเป็นพยาบาลจำนวน 3 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มพระสงฆ์สูงอายุที่ได้รับการดูแลตามปกติ โดยไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลจำนวน 15 รูป และกลุ่มพระสงฆ์สูงอายุที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลจำนวน 15 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงของ เทวัญ ยอดยิ่ง (2555) การประเมินผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติ ประกอบด้วย สัดส่วนของพระสงฆ์สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตได้ ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติ และความพึงพอใจของพระสงฆ์สูงอายุต่อการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา   ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มพระสงฆ์สูงอายุที่ใช้แนวปฏิบัติสามารถควบคุมความดันโลหิตได้คิดเป็นสัดส่วน เท่ากับ 0.60 ในขณะที่กลุ่มพระสงฆ์สูงอายุที่ไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ คิดเป็นสัดส่วน เท่ากับ 0.40 2. ความพึงพอใจโดยรวมของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลอยู่ในระดับมาก 3. ความพึงพอใจของพระสงฆ์สูงอายุที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลอยู่ในระดับมาก พยาบาลที่ดูแลพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้แนวปฏิบัติ การจัดการทางพยาบาลเพื่อปรับปรุงคุณภาพการดูแลพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT161.45 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1250.2 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2424.95 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3241.51 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4454.8 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5155.32 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT146.08 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdf COVER566.76 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE222.75 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.