Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40002
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. อุดมโชค อาษาวิมลกิจ-
dc.contributor.authorพัสวีร์ ไชยเมืองเลนen_US
dc.date.accessioned2017-08-25T07:59:19Z-
dc.date.available2017-08-25T07:59:19Z-
dc.date.issued2557-09-15-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40002-
dc.description.abstractThis research was Evaluation of The Elderly Subsistence Allowance Project in Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization, Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Province. The objectives of the study were to indentify the performance of the disbursement of subsistence allowance for the elderly, to acknowledge the problems and obstacles of the operation of the disbursement of subsistence allowance for the elderly, and to assess the satisfaction of the elderly on the operation of the disbursement of subsistence allowance for the elderly in Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization (SAO), Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Province. The research methodology was a quantitative research. The data was collected by the structured questionnaires and analyzed by a statistical software package. Presenting the result of data analysis was based on two types of questionnaires. The samples used in the study were two groups. The first group was 37 personnel of Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization (SAO), Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Province that consisted of Administrative Committees of the SAO, Council Members of the SAO, the officials, and the employees that concerned about the operation of the disbursement of subsistence allowance. The second group was 313 seniors with 60 years of age or over in the area of Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization (SAO), Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Province who received the monthly allowance for the elderly. The study of Evaluation of The Elderly Subsistence Allowance Project in Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization (SAO), Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Province was shown as below. The performance of the disbursement of subsistence allowance for the elderly in Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization (SAO) was successful at a highest level because subsistence allowance was paid on time after press release and the payment of cash facilitated to the elderly. The problems and obstacles of the operation found that the extremely barrier of the operation was the disbursement of subsistence allowance for the elderly in cash because there might be a risk to the responsible officials who took the cash to pay the elderly in any area that the money might have lost. The satisfaction of the elderly on the operation of the disbursement of subsistence allowance for the elderly in Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization (SAO), Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Province found that the elderly had the high level of satisfaction according to the highest satisfaction on part of services and public relation. The basic factors associated with the operation of the elderly subsistence allowance according to clear procedure of the operation of subsistence allowance, locating the place for payment of subsistence allowance appropriately, and necessary equipments, documents, and computers had a moderate positive correlation with the performance of the elderly subsistence allowance that meant if there had been more basic factors of the operation of the elderly subsistence allowance, there would be result in more successful performance. But if there had been less basic factors, there would be result in less successful performance. The knowledge about the operation of the elderly subsistence allowance of the officials had a weak positive correlation with the performance of the disbursement of the subsistence allowance for the elderly that meant if the officials had more knowledge about the operation, there would be result in more successful performance. But if the officials had less knowledge of their works, there would be result in less successful performance of the elderly subsistence allowance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุen_US
dc.titleการประเมินผลโครงการเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeEvaluation of The Elderly Subsistence Allowance Project in Mae Khaw Tom Subdistrict Administrative Organization, Mueang Chiang Rai District, Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc362.61-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- เมืองเชียงราย (เชียงราย)-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การสงเคราะห์-
thailis.controlvocab.thashโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ-
thailis.controlvocab.thashเงินสงเคราะห์-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 362.61 พ118ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องการประเมินผลโครงการเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุผลการดำเนินงานในการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างแน่นอนเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ โดยผู้ศึกษาจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบสอบถาม 2 ชุด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือบุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ได้แก่ คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม พนักงานส่วนตำบล และพนักงานจ้างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 37 คน และประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันได จำนวน 313 คน จากผลการศึกษา เรื่องการประเมินผลโครงการเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบว่า ด้านผลการดำเนินงานด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล แม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบว่าประสบความสำเร็จในระดับสูงมาก เนื่องจากการจ่ายเบี้ยยังชีพมีการจ่ายตรงตามกำหนดเวลาที่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบ และในการจ่ายเป็นเงินสดเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุได้อย่างมาก ด้านปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ การเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุโดยจ่ายเป็นเงินสด เพราะอาจเกิดความเสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งต้องรับผิดชอบเงินเบี้ยยังชีพที่จะต้องนำเงินสดไปจ่ายให้กับผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ อาจเกิดการสูญหายได้ ด้านความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบว่า ผู้สูงอายุมีความ พึงพอใจในระดับมาก โดยการดำเนินงานที่ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านปัจจัยเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ระเบียบวิธีปฏิบัติในการดำเนินงานด้านเบี้ยยังชีพที่ชัดเจน จำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่เหมาะสมกับภาระงาน การจัดสถานที่ในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพอย่างเหมาะสม และการมีวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นอย่างพอเพียง มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลการดำเนินงานด้านการ จ่ายเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุในระดับปานกลาง หมายความว่า ถ้ามีปัจจัยเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุมากเท่าใด จะมีผลทำให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงานมากขึ้นเท่านั้น หากมีปัจจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับการดำเนินงานมีน้อย จะส่งผลให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จน้อยตามไปด้วย ด้านความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานด้านการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ แต่ความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ โดยเป็นความสัมพันธ์ทางบวก หมายความว่า ถ้าบุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น จะมีผลต่อผลการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จมากขึ้น หากบุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพน้อย จะมีผลให้ผล การดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จน้อยตามไปen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT215.04 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX534.15 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1228.27 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2684.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3257.47 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4652.16 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5261.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT257.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER590.36 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE192.37 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.