Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39764
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.advisorบุญพิชชา จิตต์ภักดี-
dc.contributor.authorจรรยา กาวีเมืองen_US
dc.date.accessioned2016-12-12T10:44:32Z-
dc.date.available2016-12-12T10:44:32Z-
dc.date.issued2558-01-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39764-
dc.description.abstractNursing handover is a process for transferring information and primary responsibility and authority from outgoing nurses to incoming nurses. The purpose of this developmental study was to improve the quality of nursing handover in the Medical Intensive Care Unit 3 of Nakornping Hospital, Chiang Mai Province. Study methodology was guided by DPIR (Data, Problem, Implementation & Evaluation, and Recommendation) method and the FOCUS-PDCA quality improvement process (Deming, 1993) which consisted of 9 steps; find a process to improve; organize a team that knows the process: clarify the current knowledge of the process; understand the cause of process variation; select the process improvement; plan the improvement; do the improvement; check the results, data collection and analysis; and act to hold the gain and continue improvement. The study population included 17 registered nurses working at Medical Intensive Care Unit 3. The research instruments used were the interview guideline and the nursing handover observation checklist. Data were analyzed by descriptive statistics. The FOCUS-PDCA process helped the researcher to develop the nursing handover protocol, as well as the DPIR Sending Form and the Receiving Form. The researcher then trained nurses to perform the nursing handover process in compliance with the protocol. After implementation of the nursing handover protocol, the nurses were observed and 91.27% of nurses were compliant with the protocol and handover times decreased from 52.5 minutes to 47.5 minutes. The nurses were satisfied with the outcomes of the improvement quality process, and reported that the nursing handover protocol was feasible and acceptable in practice, and as well as very beneficial to the organization. However some barriers in the nursing handover process were identified. These included that outgoing nurses sometimes did not have enough time to fill out the handover form and some nurses were still unfamiliar with the new handover protocol. The study demonstrated an improvement in nursing shift handover through FOCUS PDCA, the nursing handover protocol, the DPIR Sending Form and the Receiving Form. Nursing administrators can apply this improvement methodology to improve nursing handover process in other departments.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับส่งเวรทางการพยาบาลen_US
dc.subjectหอผู้ป่วยen_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก อายุรกรรม 3 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeQuality improvement of nursing handover in Medical Intensive Care Unit 3, Nakornping Hospital, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshIntensive care units-
thailis.manuscript.callnumberW 4 จ17ก 2558-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการรับส่งเวรทางการพยาบาลเป็นกระบวนการในการส่งต่อข้อมูล หน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาลในเวรก่อนหน้าให้พยาบาลในเวรถัดไป การศึกษาเชิงพัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 3 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการศึกษาอาศัยวิธีการดีพีไออาร์ (ข้อมูล, ปัญหา, การปฏิบัติและประเมินผล, การให้ข้อเสนอแนะ) และกรอบแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องโฟกัสพีดีซีเอ ของ เดมมิ่ง (Deming, 1993) ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอนได้แก่ การค้นหากระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพ การสร้างทีมงานให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ การทำความเข้าใจกระบวนการที่จะปรับปรุง การทำความเข้าใจถึงสาเหตุความแปรปรวนของกระบวนการ การเลือกวิธีการปรับปรุงกระบวนการ การวางแผนการปรับปรุง การนำไปปฏิบัติ การตรวจสอบการปฏิบัติและการยืนยันการดำเนินการและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 3 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาได้แก่แนวคำถามในการประชุมกลุ่มและแบบสังเกตการรับส่งเวรทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา กระบวนการโฟกัสพี ดี ซี เอ ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถพัฒนาแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาล แบบบันทึกการส่งข้อมูลตามรูปแบบดีพีไออาร์และแบบบันทึกของผู้รับเวร และนำไปใช้ในการฝึกอบรมพยาบาลให้สามารถปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาล ภายหลังนำแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาลไปปฏิบัติจริง ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลพบว่า ร้อยละ 91.27 ของพยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวทางในการรับส่งเวรทางการพยาบาลได้ และระยะเวลาที่ใช้ในการส่งเวรลดลงจาก 52.5 นาทีเป็น 47.5 นาที พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อผลลัพธ์ของกระบวนการพัฒนาคุณภาพ และมีความเห็นว่าแนวทางในการรับส่งเวรมีความเหมาะสมและนำไปใช้ในการปฏิบัติได้รวมทั้งมีประโยชน์ต่อหน่วยงาน อย่างไรก็ตามยังมีอุปสรรคในกระบวนการรับส่งเวรทางการพยาบาลที่ได้พัฒนาขึ้น ได้แก่ พยาบาลผู้ส่งเวรไม่มีเวลาในการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มบันทึกการส่งเวรและไม่คุ้นเคยกับแนวทางในการส่งเวรด้วยรูปแบบใหม่ ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้โฟกัสพีดีซีเอ แนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาล แบบบันทึกการส่งข้อมูลตามรูปแบบดีพีไออาร์ และแบบบันทึกของผู้รับเวร ช่วยในการปรับปรุงการรับส่งเวรทางการพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปปรับปรุงคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหน่วยงานอื่นต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)172.09 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract164.01 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS2.86 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.