Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39676
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนพมาศ ถาธัญen_US
dc.date.accessioned2016-12-06T17:05:54Z-
dc.date.available2016-12-06T17:05:54Z-
dc.date.issued2014-06-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39676-
dc.description.abstractBackgrounden_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectครรภ์en_US
dc.subjectทารกen_US
dc.titleความถูกต้องของอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจต่อเส้นผ่าศูนย์กลางศีรษะของทารกในครรภ์ ในการทำนายโรคฮีโมโกลบินบาร์ทในกลุ่มทารกที่มีความเสี่ยงen_US
dc.title.alternativeAccuracy to Fetal Cardiac Diameter to Biparietal Diameter Ratio as a Predictor to Fetal Hemoglobin Bart’s Disease Among Fetuses at Risken_US
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.meshDissertations, academic -- Obstetrics and Gynecology-
thailis.controlvocab.meshObstetrics-
thailis.controlvocab.meshHemoglobins, Abnormal-
thailis.manuscript.callnumberThesis W 4 Obs. Gyn. น166ค 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความเป็นมา: โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้เกิดความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดงจนเกิดภาวะซีด และส่งผลแทรกซ้อนต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยชนิดที่รุนแรง คือ โรคฮีโมโกลบินบาร์ท (hemoglobin Bart’s disease หรือ homozygous alpha-thalassemia-1) ซึ่งทำให้ซีดมาก หัวใจโต และมีบวมน้ำ ทำให้เสียชีวิตทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด และยังส่งผลกระทบต่อมารดา เช่น ทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือ ตกเลือดหลังคลอดได้ สำหรับในประเทศไทย พบว่ามีความชุกของโรคค่อนข้างมาก การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดจึงมีบทบาทสำคัญมากในการลดจำนวนทารกที่เป็นโรคและภาวะแทรกซ้อน แต่โดยส่วนมากมักจะเป็นหัตถการรุกล้ำ เช่น การเจาะชิ้นเนื้อรก การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะเลือดสายสะดือ ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนตามหลังการทำหัตถการได้ เช่น การแท้ง หรือทารกเสียชีวิต ภาวะหัวใจโตของทารกในครรภ์ที่มีภาวะบวมน้ำจากภาวะซีดด้วยโรคฮีโมโกลบินบาร์ท สามารถตรวจพบได้ด้วยการทำอัลตราซาวด์ โดยดูจากการวัดสัดส่วนของหัวใจต่อขนาดทรวงอก (cardiothoracic ratio: C/T ratio) อย่างไรก็ตาม มักจะมีปัญหาบ่อยครั้งในการตรวจวัดสำหรับแพทย์ทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับการตรวจวัดมาก่อน แต่ในมาตรฐานตามปกตินั้น แพทย์จะตรวจวัดความกว้างของศีรษะทารก หรือ biparietal diameter (BPD) อยู่แล้ว และมีการตรวจหัวใจในระดับ four-chamber-view เช่นกัน ซึ่งแพทย์ทั่วไปจะมีความคุ้นเคยมากกว่า ทางผู้ทำวิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาถึงความถูกต้องในการทำนายโรคฮีโมโกลบินบาร์ทด้วยการวัดอัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางหัวใจในระดับ four-chamber-view ต่อ BPD หรือ C/B ratio โดยเล็งเห็นว่าเป็นวิธีที่อาจจะนำมาใช้เพื่อทำนายภาวะฮีโมโกลบินบาร์ทที่ไม่ได้เป็นหัตถการรุกล้ำ และเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกที่เป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ทต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของค่าอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางหัวใจต่อเส้นผ่าศูนย์กลางศีรษะของทารก (cardiac diameter to biparietal diameter; C/B ratio) ในการทำนายโรคฮีโมโกลบินบาร์ท ขณะกึ่งการตั้งครรภ์ในทารกที่มีความเสี่ยง วัสดุและวิธีการ: เข้าถึงฐานข้อมูลการวินิจฉัยก่อนคลอดหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ค้นหาทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ทขณะกึ่งการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 18-21 สัปดาห์) ที่ได้ทำการตรวจอัลตราซาวด์สี่มิติชนิด cardio-STIC และเก็บปริมาตรข้อมูล (volume datasets: VDS) ที่จะทราบผลการวินิจฉัยโรคในภายหลังด้วยการตรวจเลือดจากสายสะดือทารก VDS ของทารกแต่ละรายถูกนำมาวิเคราะห์วัดหาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวใจทารกที่ระดับวิวหัวใจสี่ห้องโดยโปรแกรม 4DView แบบ off-line (ไม่ได้ตรวจโดยตรงจากสตรีตั้งครรภ์) โดยผู้วิจัยที่ไม่ทราบผลการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ค่าที่วัดได้นำมาเทียบสัดส่วนกับขนาดศีรษะทารก (biparietal diameter) เพื่อหาค่า C/B ratio ผลการศึกษา: จากสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการมีทารกเป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ทซึ่งเก็บปริมาตรข้อมูลได้ 131 VDS จากจำนวนทั้งหมดนี้ 11 VDS ถูกตัดออกจากการศึกษาเนื่องจากคุณภาพของ VDS ไม่ดีพอสำหรับการวิเคราะห์แปลผล จึงเหลือจำนวน VDS ที่ใช้ในการวิเคราะห์จริง 120 VDS ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าค่า C/B ratio ในทารกที่เป็นโรคมีค่าสูงกว่าทารกปกติอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 53.16 เทียบกับร้อยละ 41.68, P < 0.001) มีความไวในการทำนายการเป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ทร้อยละ 91.5 และความจำเพาะร้อยละ 77.6 (โดยมีพื้นที่ใต้กราฟ 0.929) โดยการใช้จุดตัด (cut-off) ในการแยกทารกผิดปกติที่มีค่าสูงกว่าร้อยละ 45 ซึ่งได้มาจาก ROC curve สรุป: ค่า C/B ratio ของทารกขณะกึ่งการตั้งครรภ์โดยใช้ค่าจุดตัดจำแนกความผิดปกติที่ค่าร้อยละ 45 มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยแยกทารกที่เป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ทในกลุ่มการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง C/B ratio เป็นเทคนิคที่ทำการวัดได้ง่าย น่าเชื่อถือ และโดยทฤษฎีแล้วอาจประยุกต์ได้ในวงกว้าง แต่ควรทำการศึกษาต่อโดยการใช้อัลตราซาวด์สองมิติ และควรเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับตัววัดอื่นๆ เช่น C/T ratio หรือความหนาของรก เป็นต้นen_US
Appears in Collections:MED: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT202.74 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX160.35 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1168.33 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2189.14 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3243.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4250.41 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5312.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT187.42 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER582.8 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE117.19 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.