Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39641
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ.ดร. วรทัศน์ อินทรัคคัมพร-
dc.contributor.advisorรศ. ดุษฎี ณ ลำปาง-
dc.contributor.advisorรศ.ดร.โชค มิเกล็ด-
dc.contributor.authorชิตวัน เวียงนาคen_US
dc.date.accessioned2016-11-08T09:11:31Z-
dc.date.available2016-11-08T09:11:31Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39641-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study, the knowledge and understanding of farmers produced food from Supplementary feed block production for beef cattle, to study the relationship between personal factor, economic factor, social factor and consumer factors related to the knowledge and understanding of demand from beef cattle, and to study of problems from briquette for beef cattle. The populations in this study were cattle farmers from Ta Nao Sub-district 200 data collected by questionnaires. Data were analyzed by using the percentage, average, maximum, minimum, standard deviation and the hypothesis was tested using the Chi-square test. From research finding, it was found that most farmers were male within the age-range of 51-60 years old, and had finished education at the primary level. Most of them were farmers and experience in raising cattle was 3-6 years, under free range husbandry. More than half of them used to attend seminar about feeding of beef cattle 1-5 times per year. The income was in the range of 5,001-10,000 Baht per year. The 59 percentage of all farmers, cost was from feed, supplementary feed, drug and wage. The number of beef cattle raised was lower than 5 animals, it was set up the famer group in their village to receive the information from government officials, the interrelate co-operate and beef cattle groups. The information about the supplementary feed block was receipted from government officials and the interrelate co-operate. For the farmers who feed the beef cattle had a little understanding of the supplementary feed block with 56.5 percentages. The farmers had a low level for production of the supplementary feed block. Overview of the farmers had a low level to knowledge about the supplementary feed block. According to factors of the knowledge and understanding of farmer who produce the supplementary feed block regarding to all 11 factors, the statistically significance was found in 9 factors. gender, age, education, experience from the feeding of beef cattle, experience from seminar from the feeding of beef cattle, income from career, the number of the beef cattle, beef cattle group, knowledge from government official or the expert and factor of demand for producing the supplementary feed block for the beet cattle were significantly at 0.01 level The problems and suggestion of the farmer who produce the supplementary feed block was found that the farmers were lacked of capital for providing the instrument and raw material for producing the supplementary feed block, experience, the corrected method, feed and the group had less efficiency for distribution of information and providing the raw materials including the exchange of information in their groups.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรู้และความเข้าใจของเกษตรกรในการผลิตอาหารเสริม อัดก้อนสำหรับโคเนื้อในตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeFarmers' Knowledge and Understanding in Supplementary Feed Block Production for Beef Cattle in Ta Nao Sub-district, Phu Phiang District, Nan Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรู้และความเข้าใจของเกษตรกรในการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านความต้องการในการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนกับความรู้และความเข้าใจการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อ และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จำนวน 200 ราย รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติไค-สแควร์ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่ร้อยละ 93.5 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51-60 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 อาชีพหลักของผู้เลี้ยงโคเนื้อจะทำเกษตรกรรมเป็นหลัก มีประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้อประมาณ 3-6 ปี เลี้ยงแบบปล่อยในพื้นที่ของตนเอง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อเกินครึ่งเคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคโดยเข้ารับการฝึกอบรม 1-5 ครั้งต่อปีรายได้จากอาชีพหลักของเกษตรกร มีรายได้ตั้งแต่ 5,001-10,000 บาทต่อปี มีกำไรจากการขายโคอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เกษตรกรร้อยละ 59 มีต้นทุนในการเลี้ยงโค โดยเกษตรกรจะมีต้นทุนค่าอาหารเลี้ยงสัตว์ ต้นทุนค่าอาหารเสริมสำหรับสัตว์ ต้นทุนค่ายารักษาโรคของสัตว์ และต้นทุนค่าแรงงานเลี้ยงเกษตรกรเลี้ยงไว้โคเนื้อจำนวนน้อยกว่า 5 ตัว มีการเข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคที่กลุ่มของหมู่บ้านตนเอง โดยที่เกษตรกรจะได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ทั้งนี้ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารเสริมอัดก้อนเกษตรกรจะได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของความเข้าใจในการให้ความรู้เรื่องอาหารเสริมอัดก้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.5 เกษตรกรผู้เลี้ยงโคมีความเข้าใจน้อย เกษตรกรมีระดับความต้องการในการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อโดยรวม ที่ระดับน้อย ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจในการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อ พบว่า ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และความเข้าใจของเกษตรกรในการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ เพศ อายุ ประสบการณ์การเลี้ยงโค ประสบการณ์การฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ รายได้จากอาชีพหลัก จำนวนโคที่เลี้ยง การรวมกลุ่มในการเลี้ยงโค การได้รับความรู้จากหน่วยงานของรัฐหรือผู้เชี่ยวชาญ และปัจจัยความต้องการในการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อ ปัญหา อุปสรรคของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตอาหารเสริมอัดก้อนสำหรับโคเนื้อ พบว่า เกษตรกรยังขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหารเสริมอัดก้อน ขาดประสบการณ์ในการทำ และวิธีที่ถูกต้องตามวิชาการแนะนำ รวมทั้งการรวมกลุ่มยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เป็นอุปสรรคค่อนข้างมาก ส่งผลต่อการกระจ่ายข่าวสาร การจัดหาวัตถุดิบ การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อและการทำอาหารเสริมอัดก้อนen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)180.39 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract274.08 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.