Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39552
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. วรทัศน์ อินทรัคคัมพร-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดุษฎี ณ ลำปาง-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์-
dc.contributor.authorเรืองไร อินทรากองen_US
dc.date.accessioned2016-09-28T03:57:14Z-
dc.date.available2016-09-28T03:57:14Z-
dc.date.issued2557-12-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39552-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to investigating knowledge and understanding of Agricultural Disaster in Khuang Pao Sub-District, Chom Thong District, Chiang Mai Province, and to study problem and suggestion of farmers who had been effected from The Agricultural Disaster. The samples of this study was 305 farmers whore gistration of farmers with Department of Agricultural Extention in production year 2012/2013 – 2013/2014 and victims of the disaster. Data were collected by using interview questionnaires. Statistical Technique used were percentage, mean, standard deviation, minimum, maximum value, multiple regression analysis, multiple regression analysis and chi-square test. From research finding, it was found that farmers' knowledge and understanding and practice about agricultural disaster was at moderate level. (44.26% and 46.60%) From hypothesis testing, it was found that factor of farmers' knowledge, understanding about agricultural disaster which were sex, education, experience, social status, planting area size, frequency of cropping, type of the disaster. Factor of farmers' practices about agricultural disaster which were experience, farmers registration with the government and related organization. The level of farmers’ knowledge, understanding about agricultural disaster had positive relationship with the level of farmers’ practice about agricultural disaster. The problem and obstacles of farmers were the public relations registration of farmers with the government not thorough. The agricultural support of the goverment to the compensate for the damage which was too little of money. The location of post list of victims not suitable and the official working delayed.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเกษตรกรen_US
dc.subjectภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมen_US
dc.titleความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFarmers' knowledge, understanding and practice about agricultural disaster in Khuang Pao sub-district, Chom Thong district, Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc630.92-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- จอมทอง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 630.92 ร6112ค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตร ในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเมื่อได้รับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่เคยประสบภัยพิบัติทางการเกษตรในช่วงฤดูการผลิต 2554/2555 – 2555/2556 จำนวน 305 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และค่าไคสแควร์ผลการศึกษาความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติด้านการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 44.26 และร้อยละ 46.60) การทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้ความความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม สถานภาพในสังคม ขนาดของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรรอบ/ฤดูกาลผลิตในแต่ละปี และภัยพิบัติที่เกษตรกรได้รับผลกระทบ โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตร และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรได้แก่ ระยะเวลาประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม การแจ้งขึ้นทะเบียน เกษตรกรกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตร และพบว่าความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ปัญหาและอุปสรรคคือ การประชาสัมพันธ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่ทั่วถึง อัตราการช่วยเหลือเป็นเงินจากรัฐบาลน้อยเกินไป สถานที่ติดประกาศรายชื่อผู้ประสบภัยไม่เหมาะสม และการสำรวจความเสียหายมีความล่าช้าen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)179.47 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract244.26 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.