Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ. ดร. เยาวเรศ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.advisorรศ. พิกุล โค้วสุวรรณ์-
dc.contributor.authorจารุวรรณ ตาเริญen_US
dc.date.accessioned2016-07-22T09:23:28Z-
dc.date.available2016-07-22T09:23:28Z-
dc.date.issued2015-08-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39433-
dc.description.abstractThe purpose of this study are 1) to analyze the effectiveness of Debt Deferment and Reduction Program of the Year 2012 in Mueang District, Chiang Mai Province 2) to study the agriculturist attitudes toward the effectiveness of Debt Deferment and Reduction Program of the Year 2012 in Mueang District, Chiang Mai Province 3) to study problems and suggestions of agriculturists from participating Debt Deferment and Reduction Program of the Year 2012 in Mueang District, Chiang Mai Province. Data was collected by using questionnaire to random sample of 327 agriculturists, and also analyzed by using descriptive statistics, paired t-test, Likert scale, Chi-Square test and descriptive summarize the study result. The result of the research shows that the samples group were mostly male, aged between 51-60 years old, get married, mostly agriculturists and be a customer of the BAAC bank less than or equal 20 years. The analysis of program effectiveness in economic found the program effectiveness in the agriculturist’s income, expense, informal debt and saving money due to the agriculturists have time for his vocational rehabilitation and earn money. The preparation of the household accounts made the agriculturists realized their unnecessary expenses and reduce those expenses, thus remain money for informal debt and saving. However, the program has no effectiveness on formal debt as most agriculturists choose to participate in programs to suspend the principal repayment. The formal debt was not reduced. The analysis of program effectiveness in social found a comment on the economic impact of the community, the effect on the overall economy of the country and the effect on the society of agriculturists at a high level. The study of the agriculturist attitudes toward the effectiveness of Debt Deferment and Reduction Program, found that most of agriculturists attitude are agreed on the service of this debt deferment and reduction program and objective of the program. This result is showing that agriculturists have a positive attitude towards the program in these fields. The study of factors that influence the attitudes of agriculturists of this program found that age, education and time being a customer of the BAAC bank relate to the service of the program. For the study of the purpose of the program, found that the factors effect to agriculturists attitude are sex, age, education and time being a customer of the BAAC bank. The study of problem and barrier found that most agriculturists have the problem of service of the program, on both not having specific department or representative for this particular program, and not receiving comfortable service. The program should establish specific department or employee of this particular program and should schedule different of payment date for each agriculturists or mobile service outside the office to get simple and fast service. Regarding the knowledge and understanding of the program, the agriculturists do not know contact channels and hesitate to ask the representative during a meeting or not attend the meeting. For the public relations found that the media that use to promote the program do not reach agriculturists and also, few number of public relations program. For the vocational rehabilitation, the agriculturists have no consultant about this field and there is no training program for this field. Therefore, should encourage the agriculturists to attend the meeting and should clarify the agriculturists to understand about the project details, project purpose, terms and conditions since their first participate in the project, during the project participation, until the project completed to get the agriculturists to comply with the objectives of the project and to give the most benefit to agriculturists.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ปี 2555 ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Debt Deferment and Reduction Program of the Year 2012 in Mueang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ปี 2555ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ปี 2555 ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่เกิดจากการเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ปี 2555 ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการสุ่มเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 327 ตัวอย่าง และนอกจากนั้นยังได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา มาตรวัดแบบ paired t-test, likert scale, chi-square test และวิเคราะห์สรุปผลการศึกษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาได้พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51-60 ปี มีสถานภาพสมรส อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี จากการวิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการฯ เชิงเศรษฐกิจ พบว่าโครงการฯ มีประสิทธิผลด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้นอกระบบ และเงินออม เพราะโครงการฯ ทำให้เกษตรกรมีเวลาฟื้นฟูการประกอบอาชีพและสร้างรายได้จากการพักชำระหนี้ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนทำให้เกษตรกรเห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ทำให้มีเงินเหลือเพื่อนำไปชำระหนี้นอกระบบและออม แต่โครงการฯ ไม่มีประสิทธิผลด้านภาระหนี้ในระบบ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกเข้าร่วมโครงการฯ แบบพักชำระเงินต้น ทำให้หนี้ในระบบไม่ลดลง ส่วนการวิเคราะห์เชิงสังคมพบว่า เกษตรกรมีความคิดเห็นในด้านผลต่อเศรษฐกิจชุมชนด้านผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และด้านผลต่อสังคม อยู่ในระดับมาก จากการศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการฯ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีทัศนคติเห็นด้วยในด้านการบริการของโครงการฯ และด้านวัตถุประสงค์ของโครงการฯ แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการฯ ในด้านดังกล่าว และจากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการฯ พบว่าอายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่เป็นลูกค้ามีความสัมพันธ์กับด้านการบริการของโครงการฯ สำหรับการศึกษาในด้านวัตถุประสงค์ของโครงการฯ พบว่าเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่เป็นลูกค้า เป็นปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของเกษตรกรในด้านนี้ จากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรค พบว่า กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่มองเห็นว่าปัญหาด้านการบริการของโครงการฯ ทั้งการไม่มีหน่วยงานหรือพนักงานของ ธ.ก.ส. ที่ดูแลโครงการฯ นี้โดยเฉพาะ และไม่ได้รับความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการ ดังนั้น ควรจัดตั้งหน่วยงานหรือพนักงานของ ธ.ก.ส. ที่ดูแลโครงการฯ นี้โดยเฉพาะ และควรจัดวันรับชำระหนี้ของเกษตรกรให้แตกต่างกันหรือมีการรับชำระหนี้นอกสถานที่ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการ ส่วนด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ เกษตรกรไม่ทราบช่องทางในการติดต่อสอบถามและไม่กล้าสอบถามพนักงานในระหว่างการประชุมหรือไม่เข้าร่วมประชุม ส่วนด้านการประชาสัมพันธ์โครงการฯ พบว่าสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์เข้าไม่ถึงเกษตรกรและการประชาสัมพันธ์มีน้อย และด้านการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ พบว่าเกษตรกรไม่มีที่ปรึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟูการประกอบอาชีพและไม่มีการจัดอบรมการฟื้นฟูการประกอบอาชีพดังนั้น ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าร่วมประชุม และควรประชุมชี้แจงเกษตรกรให้เข้าใจ เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการฯ วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เงื่อนไขของโครงการฯ ตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ระหว่างเข้าร่วมโครงการฯ จนสิ้นสุดโครงการฯ เพื่อให้เกษตรกรปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรมากที่สุดen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT Watermark.docxAbstract (words)190.92 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 245.76 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.