Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39430
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ นำเจริญ-
dc.contributor.authorกันตภณ เชื้อสุวรรณ์en_US
dc.date.accessioned2016-07-14T08:51:17Z-
dc.date.available2016-07-14T08:51:17Z-
dc.date.issued2558-12-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39430-
dc.description.abstractThe research is about Adjustment of Local Newspaper in Chiang Mai Province to the Challenge of Digital Media, aiming at studying factors that have impacts on organization management of local newspapers in the digital age and studying adaptation, policy making, strategies and practical ways of local newspaper to face the present social, economic and political context. The study relies on in-depth interview with executives and employees of Chiang Mai News and Thai News under the conceptual framework of newspaper organization management and technological determinism theory. The study found that factors on organization management of Chiang Mai News and Thai News in the digital age are uncontrollable. Three factors on the organization management are economic, social and culture, and technology factors. Those factors have both direct and indirect impacts on organizations, encouraging the administrators to adjust the internal organization for survival. The adaptation is divided into 4 parts: administration, production, personnel and budget. In terms of administration, the executives restructure organization based on national newspaper, particularly their vision to plan strategies and lead to new ones. Platform is expanded and social media is improved more obviously and related to social context in the digital age. For production, local newspaper Thai News increases a number of modern printing presses to increase the production capability and to support the platform expansion of the organization. Meanwhile, the local newspaper organizations do not significantly provide any plan for personnel development, but offer job opportunities for the ones specialized on social media field. At the same time, some employees lack knowledge and ability about technology which is the main problem, but can be solved by sharing knowledge among employees. Lastly, local newspaper boosts proactive marketing while expanding platform to attract more advertising because selling advertisement is their main income for survival. The local newspaper cannot sustain their business without adaptation. With this action, the local organizations will mainly follow the directions of the national newspaper and use it as the model for adaptation. Nevertheless, their adaptation will take long time because of limited investment. During the next 3 years (2018) they do not have clear adaptation ways yet.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปรับตัวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการท้าทายของสื่อดิจิทัลen_US
dc.title.alternativeAdjustment of Local Newspapers in Chiang Mai Province to the Challenge of Digital Mediaen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อการท้าทายของสื่อดิจิทัล ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์กรของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลและเพื่อศึกษาการปรับตัว การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติ ของสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เมื่อเข้าสู่ยุคสื่อแบบดิจิทัลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติงานของหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ และหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ โดยใช้กรอบแนวคิด แนวคิดเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ ทฤษฎีการจัดองค์กรหนังสือพิมพ์ และทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด มาเป็นกรอบในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเชียงใหม่นิวส์ และหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ในยุคดิจิทัล เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์กร 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมและปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ผู้บริหารองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต้องปรับตัวภายในองค์กรเพื่อความอยู่รอด โดยแบ่งการปรับตัวขององค์กรออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการผลิต ด้านบุคลากรและด้านงบประมาณด้านการบริหาร ผู้บริหารระดับสูงมีการปรับตัวโดยการวางโครงสร้างองค์กรใหม่ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรเองโดยดูจากหนังสือพิมพ์ระดับประเทศเป็นหลักในการปรับตัว นำมาสู่การวางยุทธศาสตร์และปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยมีการขยายแพลตฟอร์มและนำสื่อโซเชียลมาปรับใช้ให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับบริบททางสังคมในยุคดิจิทัล ในด้านการผลิตหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไทยนิวส์เลือกที่จะเพิ่มแท่นพิมพ์ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต และรองรับการขยายแพลตฟอร์มขององค์กร ด้านบุคลากรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นยังไม่มีแผนพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน แต่มีการเพิ่มบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านเข้ามาดูแลในส่วนของโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังขาดความรู้ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ได้รับการแก้ไขโดยการแบ่งปันความรู้ระหว่างพนักงานด้วยกันเองเท่านั้นและด้านงบประมาณ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีการทำการตลาดเชิงรุกเพิ่มขึ้นร่วมถึงการขยายแพลตฟอร์มเพื่อดึงโฆษณา เนื่องจากองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีเงินหมุนเวียนที่ทำให้หนังสือพิมพ์อยู่รอด จากการขายพื้นที่โฆษณา เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่สามารถอยู่เฉยได้โดยไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบ แต่การที่สื่อหนังพิมพ์ท้องถิ่นนั้นจะเกิดการปรับตัวองค์กร องค์กรท้องถิ่นจะรอดูทิศทางของสื่อหนังสือพิมพ์ระดับประเทศเป็นหลักและใช้หนังสือพิมพ์ระดับประเทศเป็นต้นแบบในการนำมาปรับใช้ ซึ่งการปรับตัวขององค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนั้น จะใช้เวลาในการปรับตัวขององค์กรค่อนข้างมาก เนื่องจากการลงทุนในระดับท้องถิ่นนั้นมีเงินลงทุนที่จำกัดและภายในระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2561) หนังสือพิมพ์ยังไม่มีแนวทางการปรับตัวที่ชัดเจนว่าจะมีการปรับตัวไปในทิศทางใดen_US
Appears in Collections:MASSCOMM: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docxAbstract (words)179.41 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 246.55 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.