Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39361
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.อุดมโชค อาษาวิมลกิจ-
dc.contributor.authorหมวดตรีกำพล งะสมันen_US
dc.date.accessioned2016-07-08T08:04:50Z-
dc.date.available2016-07-08T08:04:50Z-
dc.date.issued2558-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39361-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study factors affecting people participation in village management overseeing by village committee, investigating people participation in village management with village committee and examining village management achievement in Pong Gwow Village, Samoeng Nua Sub-district and Pang Toem Village, Mae Saab Sub-district, Samoeng District, Chiang Mai Province. Questionnaires were used as an instrument in collecting data from 134 people in Pong Gwow Village and 141 people in Pang Toem Village. Data were analyzed by the Statistical Package for Social Science, including not only Descriptive Statistics which were Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation but also Inferential Statistics which were Spearman Correlation Coefficient and Independent-Samples t-Test. Findings could be summarized as follows: With reference to factors affecting people participation in village management ,it indicated that in terms of community factor, people in Pong Gwow Village took part in participating and helping one another in activities and projects more than people in Pang Toem Village. Moreover, due to the support from the government organizations, Pong Gwow Village gained more support from the government organizations than Pang Toem Village. With regard to village management achievement of village committee in Pong Gwow Village and Pang Toem Village, the study showed that the general village management achievement of village committee in Pong Gwow Village was quite higher than in Pang Toem Village in all aspects. This was because Pong Gwow Village committee gave priority to people participation. People in Pong Gwow Village fully took part in participating and helping one another in activities and projects so that village management has achieved. However, there were problems in people participation in Pang Toem Village. People had limited knowledge understanding, and recognition in participating village activities and projects. The village committee also lacked adequate skills, knowledge, ability and experience in village management, for instance. Finally, on the subject of approaches in developing and strengthening people participation in village management, as for Pong Gwow Village, they should consistently keep the standard of village management achievement. The public sector organizations should also promote Pong Gwow Village as the model community and support other communities to study, learn and exchange experience in Pong Gwow Village management. However, in the matter of Pang Toem Village, the government organizations should allocate sufficient budget for them to carry out activities and projects. Activities in community leaders’ capacity building and a campaign in encouraging people consciousness in participation should also be arranged. Community leaders and village committee should realize and concentrate in asking for coordination and support from the public and private sectors incessantly. Moreover, Pang Toem Village people should take more time in participation by joining activities in capability development, taking part in brainstorming meetings and proposing demands and suggestions in order to contribute to the more successful village management.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการหมู่บ้าน ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePeople Participation in Villages Management with Village Committee, Samoeng District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และศึกษาผลสำเร็จของการบริหารจัดการหมู่บ้านของคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านโป่งกวาว ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านปางเติม ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านโป่งกวาว จำนวน 134 คน และหมู่บ้านปางเติม จำนวน 141 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จทางสถิติ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (Spearman Rank) และค่าสถิติ Independent – Samples T-Test ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน พบว่า ปัจจัยด้านชุมชน พบว่า ประชาชนบ้านโป่งกวาว ค่อนข้างให้ความร่วมมือ สามัคคี ช่วยเหลือกันและกันในการทำกิจกรรม โครงการต่างๆ ของหมู่บ้านที่ดีกว่าบ้านปางเติม และปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ พบว่า บ้านโป่งกวาว ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐในด้านต่างๆ มากกว่าบ้านปางเติม ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน พบว่า ภาพรวมทั้งสองหมู่บ้านประชาชนให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการหมู่บ้านร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านเกือบทุกครั้งเท่ากัน ทั้งในด้านการรับรู้ การวางแผน การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล ผลสำเร็จของการบริหารจัดการหมู่บ้านของคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านโป่งกวาว และบ้านปางเติม พบว่า ภาพรวมผลสำเร็จของการบริหารจัดการหมู่บ้านของคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านโป่งกวาวมีการดำเนินการค่อนข้างที่สูงกว่าบ้านปางเติมในทุกด้าน เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านโป่งกวาวให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบกับประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือกันและกันเป็นอย่างดี จึงทำให้ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการหมู่บ้าน ขณะที่บ้านปางเติม ยังพบปัญหาในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการมีส่วนร่วม ขาดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม ตลอดจนคณะกรรมการหมู่บ้าน ยังขาดการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการบริหารจัดการหมู่บ้านอย่างเพียงพอ เป็นต้น สำหรับแนวทางการพัฒนา และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการหมู่บ้าน ในกรณีของบ้านโป่งกวาว ควรรักษามาตรฐานการบริหารจัดการหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จไว้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้นหน่วยงานรัฐ ควรสนับสนุนให้เป็นชุมชนตัวอย่าง สนับสนุนให้ชุมชนอื่นๆได้ศึกษา เรียนรู้ และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการหมู่บ้านของบ้านโป่งกวาว ขณะเดียวกันในกรณีของบ้านปางเติม หน่วยงานภาครัฐควรมีการจัดสรรงบประมาณ ในการทำกิจกรรม โครงการต่างๆ อย่างเพียงพอ มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน มีกิจกรรม รณรงค์ ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม อีกทั้งผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการประสานงานขอความร่วมมือ การสนับสนุน จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประชาชนบ้านปางเติม ควรเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เสียสละเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมในการพัฒนาด้านต่างๆ ร่วมประชุมระดมความคิดเห็น ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น ความต้องการต่างๆ เป็นต้น เพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จในการบริหารจัดการหมู่บ้านมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)89.5 kBMicrosoft WordView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 180.63 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS2.95 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.