Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39311
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.อุดมโชค อาษาวิมลกิจ-
dc.contributor.authorประวิทย์ ร่มโพธิ์เจริญen_US
dc.date.accessioned2016-07-04T09:01:45Z-
dc.date.available2016-07-04T09:01:45Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39311-
dc.description.abstractThe research was intended to study factors affecting results of law enforcement to reduce accidents on the highway with a speed camera; results of law enforcement to reduce accidents on the highway with a speed camera; and problems and obstacles of police officers’ performance in law enforcement to reduce accidents on the highway with a speed camera in Phitsanulok Province. It was a quantitative research employing questionnaire as an instrument. Data were collected from 79 police officers who discharged a speed detection measure with a speed camera on the highway in Phitsanulok Province and 200 people who travelled on the highway in Phitsanulok Province. Results could be summarized as follows: Regarding factors affecting results of law enforcement to reduce accidents on the highway with a speed camera in Phitsanulok Province, the 6 factors, predominantly, supported the police officers’ performance in law enforcement to reduce accidents on the highway with a speed camera in Phitsanulok Province in the high level. To clarify, factors in cooperation and support of personnel aspect, policy and support of executive aspect, knowledge, ability and appropriateness of police officer staffing aspect, and cooperation of commuters in supporting the police officers’ performance aspect were in the high level. However, adequate material and equipment aspect as well as sufficient budget aspect were in the middle level. In terms of results of law enforcement to reduce accidents on the highway with a speed camera in Phitsanulok Province, it generally achieved in the high level in all aspects; namely, policy from the political and social sectors, law enforcement execution, safety in driving, detection technology, law and punishment, and arguments of the commuters. This was consistent with the result as the people sample strictly cooperated and followed the traffic rules on the highway or paid attention in preventing danger from commuting on the highway According to problems and obstacles of police officers’ performance in law enforcement to reduce accidents on the highway with a speed camera in Phitsanulok Province, it indicated that they lacked incessantly capability development in skill and expertise in speed camera usage. Police officer staffing was insufficient, speed cameras were insubstantial and were not capable of detecting or taking pictures during night time or little light. Traffic signs on the highway were not clearly seen and damaged. Besides, some people did not realize their offending and they lacked knowledge and understanding in speed limit as prescribed by the law. Furthermore, there were minimal and intermittent public relations in speed limit enforcement. Finally, due to guidelines for planning implementation in reducing injury and death on the highway, the government and organizations in the central unit should sufficiently and appropriately allocate budget for implementation concerning the law enforcement to reduce the accidents on the highway. Rules and regulations should be improved and adjusted including the severe penalty. On the subject of the police officers, they should strictly enforce the rules, regulation, and law with the offenders. People or commuters should be on the road carefully and consciously and learn about law, rules and regulation concerning the usage of the highway continually, for instance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวง ด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในจังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeResults of Law Enforcement to Reduce Accident on the Highway with Speed Cameras in Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ ผลของการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ และศึกษาปัญหา อุปสรรคจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรการตรวจจับความเร็ว ด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติบนทางหลวงในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 79 ราย และ กลุ่มตัวอย่างประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 200 ราย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในจังหวัดพิษณุโลก โดยรวมปัจจัยทั้ง 6 สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ ในจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านความร่วมมือและสนับสนุนของบุคลากร นโยบายและการสนับสนุนจากผู้บริหาร ความรู้ความสามารถ ความเหมาะสมของอัตรากำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการให้ความร่วมมือของผู้ใช้รถใช้ถนนสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ในระดับมาก ขณะที่ด้านความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือการปฏิบัติงาน ความเพียงพอ ด้านงบประมาณ สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ในระดับปานกลางเท่านั้น ผลของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมประสบผลสำเร็จในระดับมาก โดยทุกด้าน ได้แก่ นโยบายจากภาคการเมืองและสังคม การบริหารการบังคับใช้กฎหมาย ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เทคโนโลยีในการตรวจจับ ด้านกฎหมายและการลงโทษ และข้อโต้แย้งของผู้ขับขี่หรือผู้ใช้รถใช้ถนน ประสบผลสำเร็จได้ในระดับมาก สอดคล้องกับข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตนเพื่อใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงอย่างเคร่งครัดมาก หรือให้ความสำคัญในการป้องกันอันตรายจากการใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงทุกครั้งเมื่อขับขี่รถ ปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ ได้แก่ ขาดการพัฒนาในด้านทักษะและความชำนาญในการใช้เครื่องตรวจวัดความเร็วอัตโนมัติที่ต่อเนื่องให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน อัตรากำลังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน เครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติมีจำนวนน้อย ไม่สามรถตรวจจับ ถ่ายภาพในเวลากลางคืน/หรือในช่วงเวลาที่มีแสงสว่างน้อยได้ ป้ายเตือนหรือสัญญาณเตือนบนทางหลวงมองเห็นได้ไม่ชัดเจน มีสภาพชำรุด เสียหาย อีกทั้งพฤติกรรมของประชาชนบางราย ยังคงไม่สำนึกในการกระทำความผิด ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดยังคงมีจำนวนน้อย และไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น สำหรับแนวทางในวางแผนการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนทางหลวง รัฐบาลและหน่วยงานส่วนกลาง ควรมีการจัดสรรงบประมาณรองรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนทางหลวงอย่างเพียงพอและเหมาะสม มีการปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทันต่อเหตุการณ์ มีบทลงโทษที่รุนแรง ในด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน ควรให้ความสำคัญในการนำกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำผิด ขณะที่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ควรใช้รถใช้ถนน ด้วยความไม่ประมาท มีสติอยู่เสมอ และศึกษาเรียนรู้ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docxAbstract (words)56.76 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract225.89 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS3.63 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.