Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. รัชนีกร ทองสุขดี-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาพร ชินชัย-
dc.contributor.authorวสันต์ วรรณรัตน์en_US
dc.date.accessioned2016-01-04T08:57:53Z-
dc.date.available2016-01-04T08:57:53Z-
dc.date.issued2557-08-08-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39278-
dc.description.abstractThe objective of this Independent study is for creating mechanisms for screening children with special need of Varee Chiangmai School by using a academic practice of 3 example groups which are (1) 31 administration and from teachers (2) 65 of student who are in the risk of being Special Need and (3) parent of student who are in the risk of being Special need. The information is being collected in quantity and quality. The quality collected tool is the formal and informal questionnaires. The quality collected tool is general knowledge assessment of the students with LD, ADHD. The Moe filtering form for LD students and behavior observation form SNAP-IV (Short form). Study period is divided into two stages as follow 1. Preparation 1.1 Detailed interview showed that teachers know and understand the meaning causes and symptoms of the 2 groups of students in some but not all the issues. They could give opinions about the problem of arranging the teaching and learning process in class where there are mixed abilities students which effected the learning atmosphere including students’ self-control in class. 1.2 The assessment results of the form teachers before and after training showed that the average knowledge about students with LD and ADHD before training was 67.08% (13.42 points). After training the average knowledge increased to 94.38%(18.88 points). This shows 27.30% (5.46 points) progress after the training that teachers have more knowledge about students with LD and ADHD. 2. Filtering process of students with special need. 2.1 Set the committee team for filtering students with LD and ADHD 2.2 Filtering the students by using different forms and found 22 students who are at risk of being LD. By using behavior observation form SNAP-IV (Short-form) found 43 of students who are at risk of being ADHD and the result of the parents’ interview found that students with behavior from Prathom 1 are not the same as the teachers’ filtering result. 2.3 The conclusion from the committee found that by using questionnaire forms and parents’ interview, in academic year 2013, there were 60 students (8.34%) who are special need and can be divided into 22 students with LD (3.06%) and 38 students with ADHD (5.28%). 2.4 The committee have passed on the information of the results to the form teachers to advice parents to observe the students behaviors continuously and to use as the basic information to help students later.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรงเรียนวารีเชียงใหม่en_US
dc.subjectการศึกษาพิเศษen_US
dc.subjectเด็กพิเศษen_US
dc.titleการสร้างกลไกในการคัดกรองเด็กที่มีความต้องการ จำเป็นพิเศษ โรงเรียนวารีเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeCreating mechanisms for screening children with special needs in Varee Chiangmai Schoolen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc371.9-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาพิเศษ-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนวารีเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเด็กพิเศษ-
thailis.controlvocab.thashความบกพร่องทางการเรียนรู้-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 371.9 ว1811ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกในการคัดกรองเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติการโดยทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คณะผู้บริหารและครูประจำชั้น จำนวน 31 คน กลุ่มที่ 2 นักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อการมีความต้องการจำเป็นพิเศษ จำนวน 65 คน และกลุ่มที่ 3 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมที่มีความเสี่ยงต่อความต้องการจำเป็นพิเศษ จำนวน 65 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือวัดเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ เครื่องมือวัดเชิงปริมาณได้แก่ แบบวัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) และผู้เรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นและอยู่ไม่นิ่ง (ADHD) แบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ของกระทรวงศึกษาธิการ และแบบสังเกตพฤติกรรม SNAP – IV (Short From) ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1. ขั้นเตรียม 1.1 การสัมภาษณ์เชิงลึกทำให้ทราบว่า คุณครูมีความคิดเห็น และความเข้าใจในความหมาย สาเหตุ และอาการ ของเด็กทั้ง 2 กลุ่มไม่ครอบคลุมทุกประเด็น และแสดงความเห็นเรื่องปัญหาในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูเมื่อมีการจัดการเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติกับนักเรียนทั่วไป เมื่อเรียนร่วมกับชั้นเรียนปกติย่อมส่งผลต่อการจัดกระบวนการเรียน การสอนในชั้นเรียน กระทบกับบรรยากาศในชั้นเรียน รวมไปถึงการควบคุมการทำงานของตัวนักเรียนเองซึ่งส่งผลต่อไปยัง การจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูอีกทางหนึ่ง 1.2 ผลการวัดความรู้ครูประจำชั้นก่อนและหลังการอบรม พบว่าครูมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) และเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นและอยู่ไม่นิ่ง (ADHD) คือ 13.42 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.08 และเมื่อผ่านการอบรมครูมีค่าเฉลี่ยของคะแนน 18.88 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 94.38 โดยมีค่าความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 5.46 คิดเป็นร้อยละ 27.30 แสดงว่าเมื่อผ่านการอบรมแล้วครูมีความรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) และเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นและอยู่ไม่นิ่ง (ADHD) เพิ่มมากขึ้น 2 ขั้นการคัดกรองเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 2.1 ได้คณะกรรมการคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) และเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นและอยู่ไม่นิ่ง (ADHD) ภายในโรงเรียนวารีเชียงใหม่ 2.2 ทำการคัดกรองโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ซึ่งใช้แบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) พบนักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) จำนวน 22 คน และจากการใช้แบบสังเกตพฤติกรรม SNAP – IV (Short From) พบนักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมาธิสั้นและอยู่ไม่นิ่ง (ADHD) จำนวน 43 คน นอกจากนี้ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองทำให้ทราบว่า มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 คนที่มีพฤติกรรมที่ผู้ปกครองให้สัมภาษณ์ไม่ตรงกับที่คณะกรรมการคัดกรองได้ลงความเห็นไว้ 2.3 คณะกรรมการสรุปผลการคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งจากการใช้แบบคัดกรองร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เด็กที่มีภาวะเสี่ยง สรุปผลได้ว่า พบว่าผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษโรงเรียนวารีเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2556 มีทั้งสิ้น 60 คน คิดเป็นร้อยละ 8.34 โดยแบ่งเป็นผู้เรียนที่มีความเสี่ยงต่อความบกพร่องทางการเรียนรู้(LD) จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 3.06 และนักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมาธิสั้นและอยู่ไม่นิ่ง(ADHD) จำนวน 38 คิดเป็นร้อยละ 5.28 2.4 คณะกรรมการส่งต่อข้อมูลที่ได้จากการสรุปผลให้แก่ครูประจำชั้นเพื่อแนะนำผู้ปกครองให้สังเกตพฤติกรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นข้อมูลพื้นฐานรวมทั้งเป็นแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนต่อไปen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT231.63 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX792.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1300.13 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2356.94 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3340.18 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4624.86 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5271.57 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdf COVER498.96 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT173.04 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE177.71 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.